วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Learning Log การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง


ในปัจจุบันนี้เรากำลังจะเข้าสู่ยุคของอาเซียน ซึ่งเราจะมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนๆในประชาคมอาเซียน ดังนั้นในการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยก็จะต้องมีการปรับเปลี่ยนคือจากชื่อภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นการเขียนนามศัพท์ เช่น ชื่อบุคคล ชื่อภูมิศาสตร์ จากที่กล่าวมาข้างต้นนั้นคือการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง
ในการถอดอักษรไทยเป็นโรมันแบบถ่ายเสียงนั้น คือการถ่ายถอดจากอักษรไทยเป็นโรมันโดยการถ่ายเสียง  โดยทำให้ภาษาไทยที่เขียนด้วยตัวอักษรโรมันนั้นมีเสียงที่ใกล้เคียงกัน และจะไม่คำนึงถึงการสะกดการันต์และวรรณยึกต์ในภาษาไทย โดยจะมีการเทียบเสียงพยัญชนะและสระ เช่น คือ “k” เช่นคำว่า “kok” และสระ เอาเช่นคำว่า “bao”
ในการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงนั้นเราจะดูตั้งแต่ความหมายของคำ โดยเริ่มจากหน่วยคำ ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดและมีความหมาย อาจมีพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้ เช่น นา ที นาที ต่อมาก็จะเป็นคำ คือหน่วยคำ 1 หน่วยคำ หรือมากกว่านั้น เช่น โต๊ะ เก้าอี้ และจะเป็นประเภทของคำต่างๆ ได้แก่  คำประสม คำสามานยนาม คำวิสามานยนาม คำนำหน้านาม คำทับศัพท์
ต่อมาก็จะเป็นการใช้เครื่องหมาย “-” เพื่อแยกพยางค์ จะใช้ในกรณีที่มีหลายพยางค์ โดยที่อักษรตัวสุดท้ายของพยางค์หน้าเป็นสระ และอักษรตัวแรกของพยางค์ที่ตามมาขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ng  หรืออักษรตัวสุดท้ายของพยางค์หน้าเป็น ng  และอักษรตัวแรกของพยางค์ที่ตามมาขึ้นต้นด้วยสระ หรืออักษรตัวแรกของพยางค์ที่ตามมาขึ้นต้นด้วยสระ
ถัดมาก็คือการแยกคำ โดยในการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันนั้นเราจะเขียนแยกเป็นคำๆ เช่น
ห้างฟ้าไทย = Hang Fah Thai แต่เราจะยกเว้นคำประสมเพราะถือว่าเป็นคำเดียวกัน และวิสามานยนามที่เป็นชื่อบุคคล เราจะเขียนติดกัน เช่น รถไฟ = rotfai หรือ ศศิธร = Sasitorn
                หลังจากกนั้นก็คือการใช้อักษรโรมันตัวใหญ่ เราจะใช้ในกรณีที่อักษรตัวแรกของวิสามานยนาม และคำนำหน้านามที่อยู่หน้าคำวิสามานยนามนั้นๆ จะใช้อักษรโรมันตัวใหญ่ เช่น จังหวัดแพร่ = Changwat Phrae และอีกกรณีคือ อักษรตัวแรกของคำแรกในแต่ละย่อหน้าให้ใช้อักษรโรมันตัวใหญ่
                ในอีกกรณีคือการถอดชื่อทางภูมิศาสตร์ โดดยเราจะถอดคำสามานยนามที่เป็นชื่อภูมิศาสตร์เป็นอักษรโรมันโดยที่ไม่ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ เช่น น้ำตกสอยดาว = Namtok Soi Dao ไม่ใช่ Soi Dao Waterfall และการถอดคำทับศัพท์ โดยในการถอดคำทับศัพท์จะถอดในกรณีที่เป็นวิสามานยนาม จะเขียนตามภาษาเดิม และคำศัพท์ที่เป็นส่วนหนึ่งของวิสามานยนามและไม่ต้องการที่จะแปล จะเขียนคำทับศัพท์นั้นเป็นอักษรโรมันตามการออกเสียงในภาษาไทย
                ต่อมาก็จะเป็นการถอดเสียงเครื่องหมายต่างๆ โดยจะมีเครื่องหมายไม้ยมก (ๆ) ให้ถอดซ้ำคำ วลี หรือประโยคอีกครั้งตามหลักการอ่าน เครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ) ซึ้งย่อความของคำที่รู้จักกันดีแล้ว หรือคำที่เป็นแบบแผนซึ่งต้องอ่านเต็ม ให้ถอดเป็นอักษรโรมันเต็มตามคำอ่าน หรือหากมีคำเต็มซึ่งใช้ในข้อความก่อนหน้านั้นแล้ว จะถอดเต็มตามคำอ่านหรือไม่ก็ได้ และเครื่องหมาย (ฯลฯ) ให้ถอดเป็นอักษรโรมันตามเสียงอ่านคือ ละถึง = la thueng
                ถัดมาก็คือการถอดคำย่อ โดยจะถอดคำย่อที่มาจากคำเต็มที่รู้จักกันดีและเป็นคำที่ไม่ยาว ให้อ่านเต็มตามหลักการอ่าน และถอดอักษรโรมันเต็มตามคำอ่าน และคำย่อที่มาจากคำประสมหลายคำและค่อนข้างยาว จะถอดตามคำอ่านของตัวย่อ หรือถอดเต็มก็ได้
                สุดท้ายก็จะเป็นการถอดตัวเลข ให้ถอดตามหลักการอ่านอักขรวิถีไทย โดยเขียนอักษรโรมันเต็มตามเสียงที่อ่านในภาษาไทย
                จากที่ดิฉันได้ศึกษา ความรู้ที่ได้รับคือ หลักเกณฑ์ในการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน ซึ่งเราจะต้องศึกษาจากหน่วยที่เล็กที่สุดของคำนั้นๆ และองค์ประกอบต่างๆอีกมากมายที่เราจะต้องศึกษาให้ดีก่อนเดื่อความถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น