วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Learning log2

การเรียนรู้ทางด้านภาษานั้นทุกคนจะมีภาษาแม่เป็นของตนเอง และจะมีความชำนาญในภาษาแม่  ซึ่งภาษาแม่ของเราก็คือภาษาไทย  ทั้งนี้ทุกคนจะต้องเกิดการเรียนรู้ในภาษาที่สองคือ ภาษาอังกฤษ ซึ่งความแม่นยำในการเรียนรู้ทักษะภาษาอังกฤษนั้นอาจจะมีน้อย ดังนั้นจึงต้องมีการใช้กลยุทธ์ในการเรียนภาษาอังกฤษ เพื่อทำให้เราเกิดความชำนาญ  หรือแม่นยำในภาษามากขึ้น ในการเรียนทักษะทางด้านภาษานั้นสามารถศึกษาหาความรู้ทั้งจากในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
การศึกษาหาความรู้ทางด้านภาษาในห้องเรียนนั้น  การเรียนรู้ทางด้านภาษามีการเรียนรู้หลายวิธี หลายหลายรูปแบบที่เราสามารถศึกษาหาความรู้ได้ ดังนั้นเราจะต้องรู้ว่าเราจะต้องเริ่มจากอะไร เราสามารถกำหนดหลักเกณฑ์ในการเรียนได้ว่า ทำไมเราต้องเรียน  เรียนไปเพื่ออะไร  เรามีความรู้แค่ไหน
การศึกษาหาความรู้จากในห้องเรียนนั้นมีหลักการในการเรียนรู้คือ KWL
K =  what  you  know  คือ คุณรู้อะไรบ้างในการศึกษาเล่าเรียนวิชานั้น  คุณมีความรู้พื้นฐานอะไรมาแล้วบ้าง
W =  what do you want to know  คือ คุณต้องการที่จะรู้อะไรจากในห้องเรียน  ในการเรียนรู้ในห้องเรียนนั้น  เราจะต้องรู้ว่าที่เรามาเรียนในแต่ละวิชาเราต้องการรู้เกี่ยวกับอะไรในวิชานั้นๆ
L =  what you have learnt  เราเรียนไปเพื่ออะไร ในการศึกษาหาความรู้นั้นเราจะต้องรู้ว่าเราเรียนไปเพื่ออะไร ทำไมถึงต้องเรียน
                ในการเรียนรู้นั้นเราจะต้องมีหลักการว่าเราจะเรียนรู้แบบใด อย่างไร ดังนั้นในการเรียนรู้ในห้องเรียนนั้นเราจะต้องรู้ว่าเรารู้อะไรมาแล้วบ้าง  เรามีความรู้พื้นฐานแค่ไหน  หลังจากนั้นเราจะต้องเราจะต้องถามตัวเองว่าเราต้องการรู้อะไร  เราอยากรู้อะไรจากการศึกษาหาความรู้ในห้องเรียน  และสุดท้ายเราจะต้องรู้ว่าเราศึกษาหาความรู้จากในห้องเรียนไปเพื่ออะไร  จากหลักการเรียนรู้ข้างตันนี้ใช้ได้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน  การเรียนรู้ของเราจะต้องเกิดจากทั้งในและนอกห้องเรียน
                ในการศึกษาหาความรู้จากนอกห้องเรียนนั้นมีหลายหลายวิธีที่เราสามารถศึกษาเกี่ยวกับภาษา  และมีหลากหลายช่องทางในการสืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับภาษา และในด้านภาษานั้นมีเรื่องมากมายที่ให้เราสืบค้น  ในเมื่อมีหลากหลายเราจึงควรหากลยุทธ์ในการเรียนภาษา ที่จะช่วยให้เราเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น
                ในยุคที่ภาษาอังกฤษกำลังเฟื่องฟูมีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระบบที่หลากหลาย  ซึ่งการเรียนภาษาจะแตกต่างจากการเรียนวิชาอื่นๆเป็นส่วนใหญ่  คือการเรียนภาษาจะต้องมีความรู้และทักษะควบคู่กันไป  ซึ่งความรู้จะเป็นภาคทฤษฎี  ส่วนทักษะเป็นภาคปฏิบัติ  ในการเรียนเฉพาะภาคทฤษฎีโดยไม่ฝึกปฏิบัติไม่อาจทำให้สามารถใช้ภาษาได้จริงในชีวิตประจำวัน ซึ่งปัญหาในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษมักจะมุ่งไปที่เหตุปัจจัยภายนอกตัวผู้เรียน  คือ  โทษครูผู้สอน  โทษตำรา แบบเรียน และสื่อการเรียนการสอน  โทษสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอน  โทษนโยบายรัฐ  โทษสภาพแวดล้อมทางสังคม  แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ  เหตุปัจจัยหลายอย่างทั้งภายในและภายนอกของกระบวนการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ  การจะเรียนภาษาอังกฤษให้ได้ผลย่อมมีเหตุปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน  ตัวผู้เรียนเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุด
                การพึ่งตนเองในการเรียนภาษาอังกฤษจนสัมฤทธิ์ผลต้องดำเนินไปอย่างเป็นระบบโดยเริ่มตั้งแต่วัตถุประสงค์และเป้าหมาย กำหนดให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นจะสามารถทำอะไรได้แค่ไหนภายในกรอบเวลาใด  เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายได้แล้ ก็จะต้องรู้จักจัดเตรียมและเสาะหาสื่อและแหล่งความรู้ที่เอื้อต่อการฝึกทักษะด้วยตนเอง  ขั้นต่อไปก็จะต้องพัฒนากลยุทธ์ในการเรียน  ซึ่งกลยุทธ์ในการเรียนภาษามีองค์ประกอบทั้งสิ้น 10 ประการ  ได้แก่
1. ศึกษา  ความรู้เปรียบเสมือนเสาหลักมีอยู่ 2 ด้าน คือ ศัพท์และไวยากรณ์ ซึ่งอุปสรรคในการเรียนการสอนภาษา คือ ผุ้สอนพูดกับผู้เรียนเสมอว่า  ภาษาเป็นวิชาทักษะ ไม่ใช่วิชาเนื้อหา  จนทำให้ผู้เรียนเข้าใจผิด ในเมื่อภาษาเป็นวิชาที่ไม่มีเนื้อหา การเรียนภาษาจึงไม่ต้องเรียนเนื้อหา นอกจากการฝึกทักษะ ทำให้ไม่เข้าใจ
2. ฝึกฝน  การฝึกฝนภาษาให้ได้ผลต้องผ่าน “อินทรีย์6” หลายทาง ตา-ดู  ได้แก่ การอ่าน การดู การสังเกต  หู-ฟัง  ได้แก่ เสียงและน้ำเสียง  ปาก-พูด  ได้แก่ การออกเสียง การพูด การสนทนา การอ่านออกเสียง  มือ-เขียน  ได้แก่ การเขียนรวมไปถึงการใช้อุปกรณ์ทดแทนการเขียนด้วยมือ  หัว-คิด ได้แก่ สมรรถนะทางด้านปัญญา  ใจ-รัก ได้แก่ สมรรถนะทางด้านจิต คือใจรักในสิ่งที่ศึกษา จากนั้นมีความหมั่นเพียรในการศึกษา
3. สังเกต ภาษาอังกฤษมีเนื้อหามาก บางเรื่องก็เป็นเรื่องซับซ้อน บางเรื่องก็เป็นลักษณะเฉพาะของภาษาเอง ไม่อาจใช้เหตุผลได้ ผู้เรียนภาษาที่ดีจึงต้องเป็นคนช่างสังเกต โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องใส่ใจเรื่องใหญ่ๆต่อไปนี้
·         ไวยากรณ์ เช่น โครงสร้างของวลีและประโยค
·         ศัพท์ เช่น ชนิดของคำ
·         ภาษาสำเร็จรูป เช่น โวหาร สำนวน สุภาษิต
4. จดจำ  ความจำเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของการเรียนรู้ทุกชนิด  รวมทั้งการเรียนภาษา การเรียนภาษา การฝึกฝนตามปกติอาจไม่เพียงพอ แต่ต้องอาศัยการท่องจำมาเสริม คือ การท่องปากเปล่าเพื่อให้จดจำถ้อยคำหือข้อความจนสามารถเรียกกลับมาใช้ได้ตามใจต้องการ บางครั้งจะอาศัยการท่องปากเปล่าเพียงอย่างเดียวอาจไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ จำต้องอาศัยการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรแทน
5. เลียนแบบ แต่ละภาษาจะมีสัญนิยมของตนเอง ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างคนที่ใช้ภาษาเดียวกัน มิฉะนั้นจะสื่อสารกันไม่ได้เลย การเรียนภาษาจึงต้องอาศัยการเลียนแบบทุกขั้นตอน  ข้อแตกต่างสำคัญระหว่างการเรียนภาษาแม่กับภาษาต่างประเทศก็คือ ผู้ที่เรียนภาษาแม่อยู่ในสิ่งแวดล้อมของเจ้าของภาษา มีแหล่งความรู้ภาษาที่ถูกต้องมากกว่า ในขณะที่ผู้เรียนภาษาต่างประเทศจะมีข้อเสียเปรียบในเรื่องนี้อย่างมาก เพราะขาดแคลน”แบบ”ที่ใช้”เลียน” ทั้งในเชิงคุณภาพและในเชิงปริมาณ
6. ดัดแปลง เมื่อเลียนแบบแล้ว ต้องรู้จักดัดแปลงให้เข้ากับวัตถุประสงค์ในการใช้ภาษา การรู้จักดัดแปลงย่อมต้องอาศัยความรู้เรื่องไวยากรณ์ประกอบกับความรู้เรื่องศัพท์และสำนวนโวหารต่างๆเป็นพื้นฐานสำคัญ
7. วิเคราะห์  การเรียนภาษาในระดับเบื้องต้นจำต้องอาศัยการเลียนแบบอยู่มาก แต่เมื่อเรียนในระดับสูงขึ้น ก็ต้องอาศัยการวิเคราะห์เข้ามาเสริม ซึ่งมีความซับซ้อนยิ่งกว่าภาษาทั่วไป การวิเคราะห์มี 3 ระดับใหญ่ๆคือ
·         ระดับศัพท์ คือ วิเคราะห์โครงสร้างและความหมายของศัพท์และสำนวน
·         ระดับไวยากรณ์ คือ วิเคราะห์โครงสร้างและความหมายของวลีและประโยค
·         ระดับถ้อยความ คือ วิเคราะห์โครงสร้างและความหมายระหว่างประโยค ตลอดจนโครงสร้างและความหมายโดยรวม
8. ค้นคว้า ความรู้ที่มีอยู่ในตำรา แบบเรียน ยังมีไม่เพียงพอ ผู้เรียนจำต้องค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลความรู้ต่างๆ  ในสภาพความเป็นจริงของการใช้ภาษาการตั้งเป้าหมายว่าผู้เรียนต้องรู้ศัพท์หมดทุกคำ หรือต้องใช้ภาษาโดยไม่ผิดเลย เป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ เพราะเป็นไปไม่ได้ และไม่จำเป็น แต่การสอนให้ผู้เรียนอาศัยแต่การเดา ไม่ต้องค้นคว้าเพิ่มเติม จนผู้เรียนคล้อยตาม ยิ่งต้องเรียนและใช้ภาษาในระดับสูงขึ้น ก็มักจะพบว่าความรู้ต่างๆที่เรียนมานั้นพร่ามัว ทำให้ขาดความมั่นใจในการใช้ภาษา
9. ใช้งาน เมื่อเรียนรู้ภาษาไปบ้างแล้ว ก็สมควรจะใช้งานจริง เพื่อทดสอบและตรวจสอบดูว่าความรู้และทักษะที่ได้เรียนรู้มานั้นเพียงพอหรือไม่
10. ปรับปรุง ผู้เรียนภาษาที่ดีต้องช่างสังเกตและเรียนรู้จากข้อผิดพลาดบกพร่อง เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขด้วยการศึกษา ฝึกฝน วิเคราะห์ ค้นคว้า และหาโอกาสไปทดสอบใหม่ เพื่อวัดความก้าวหน้าในการใช้ภาษาในด้านนั้นๆ

                จากการศึกษาทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน ดิฉันได้ความรู้ คือ ความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาเป็นสิ่งที่ต้องศึกษา ฝึกฝน และต้องเพาะบ่มเป็นเวลานาน ไม่ใช่ว่าจะได้มาจากการเรียนกวดวิชาหรือฝึกอบรมแค่ไม่กี่ชั่วโมง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น