วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Learning Log หลักการแปลวรรณกรรม


                หนังสือนั้นมีหลายประเภทที่เราเลือกอ่านกันตามความชอบ เช่น นิยาย นวนิยาย เรื่องสั้น บทเพลง เป็นต้น หนังสือเหล่านี้จะมีต้นฉบับ และอีกอย่างหนังสือที่กล่าวมานั้นก็มีทั้งการแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ หรือจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และในการแปลหนังสือเหล่านี้ก็มีขั้นตอนหรือหลักในการแปลของมัน เพื่อที่จะช่วยให้แปลได้ถูกต้องและมีความหมายตรงกับต้นฉบับ และในที่นี้จะเป็นการพูดถึง หลักการแปลวรรณกรรม
                วรรณกรรม หมายถึง หนังสือที่แต่งขึ้นด้วยความคิดสร้างสรรค์ไม่ว่าจะใช้วิธีร้อยแก้วหรือร้อยกรอง ไม่ว่าจะเป็นผลงานกวีโบราณหรือปัจจุบัน รวมเรียกว่า “วรรณคดี” ซึ่งวรรณกรรมเป็นงานเขียนที่จัดไว้ในประเภท “บันเทิงคดี”
                งานแปลทางบันเทิงคดีที่จะนำมากล่าวในที่นี้ได้แก่ งานแปลนวนิยาย เรื่องสั้น นิทาน นิยาย บทละคร การ์ตูน บทเพลง เป็นวรรณกรรมที่ผู้อ่านมุ่งหวังที่จะได้รับความบันเทิง เพลิดเพลินเป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่จะค้นหาความรู้ต่างๆนั้นเป็นจุดประสงค์รอง การแปลวรรณกรรมสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การรักษาความหมายเดิมไว้ให้ครบถ้วนไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นหัวใจของการแปลงานบันเทิงคดี ผู้แปลต้องใช้ศิลปะที่ละเอียดลึกซึ้ง เพราะงานแปลเช่นนี้เป็นงานแปลศิลปะอย่างแท้จริง
หลักการแปลนวนิยาย
                นวนิยายเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในทุกประเทศและทุกสมัย ผู้แปลเกือบจะมีความสำคัญเท่ากับผู้แต่ง ในบางครั้งก็มีความสำคัญมากกว่าผู้แต่ง งานแปลนวนิยายและหนังสือประเภทบันเทิงคดี มักจำนำชื่อเสียงเกียรติคุณมาสู่ผู้แปล ดังนั้นงานแปลประเภทนี้จึงมีความสำคัญมากในวงการแปล คุณค่าของวรรณกรรมอยู่ที่ศิลปะในการใช้ภาษาของผู้แปลที่สามารถค้นหาถ้อยคำที่สละสลวยสอดคล้องกับต้นฉบับได้อย่างดี
1.                การแปลชื่อเรื่องของวรรณกรรม ชื่อของหนังสือมีความสำคัญเป็นอันดับแรก เพราะผู้แต่งเอาใจใส่ในการตั้งชื่อหนังสืออย่างดีที่สุด เพื่อบอกคุณลักษณะของงาน และเพื่อสร้างความเร้าใจให้แก่ผู้อ่านให้สนใจติดตามผลงาน และเพื่อบอกเป็นนัยๆว่าผู้เขียนต้องการสื่ออะไรต่อผู้อ่าน ชื่อหนังสือก็เปรียบเสมือนใบหน้า ดังนั้นการแปลชื่อเรื่องตามที่นักแปลปฏิบัติมี 4 แบบ
แบบที่ 1 ไม่แปล แต่ใช้ชื่อเดิมเป็นภาษาไทยด้วยวิธีการถ่ายทอดเสียง หรือถ่ายทอดตามตัวอักษร (ทับศัพท์)
แบบที่ 2 แปลตรงตัว ถ้าชื่อต้นฉบับมีความสมบูรณ์ครบถ้วนก็จะใช้วิธีแปลตรงตัวโดยรักษาคำและความหมายไว้ด้วยภาษาไทยที่ดีและกะทัดรัด
แบบที่ 3 แปลบางส่วนดัดแปลงบางส่วน จะใช้วิธีนี้ก็ต่อเมื่อชื่อในต้นฉบับห้วนเกินไป สื่อความหมายไม่เพียงพอ
แบบที่ 4 ตั้งชื่อใหม่โดยการตีความชื่อเรื่องและเนื้อเรื่อง ผู้แปลต้องใช้ความเข้าใจวิเคราะห์ชื่อเรื่องและเนื้อเรื่องจนสามารถจับประเด็นสำคัญและลักษณะเด่น และจุดประสงค์ของผู้เขียนเรื่องได้
2.                การแปลบทสนทนา อาจจะมีความยุ่งยาก เนื่องจากมีการใช้ถ้อยคำในการตอบโต้ของตัวละคร ซึ่งใช้ภาษาพูดที่มีหลายระดับแตกต่างกันตามสถานภาพทางสังคมของผู้พูด ถ้าผู้แปลไม่คุ้นกับภาษาพูดระดับต่างๆก็อาจจะเข้าใจผิดได้
3.                การแปลบทบรรยาย เป็นข้อความที่เขียนเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ ซึ่งมักจะใช้ภาษาเขียนที่ขัดเกลาและแตกต่างกันหลายระดับ ทำให้เกิดความยุ่งยากในการแปลเพื่อให้สอดคล้องกับต้นฉบับ ถ้าวิเคราะห์การใช้ภาษาในบทบรรยายแล้ว จะพบว่าความยุ่งยากเกิดจากภาษาสองประเภท คือ ภาษาในสังคม กับภาษาวรรณคดี
ขั้นตอนการแปลวรรณกรรม ควรปฏิบัติดังนี้
1.                อ่านเรื่องราวให้เข้าใจโดยตลอด เพื่อที่จะสามารถจับใจความสำคัญได้
2.                วิเคราะห์ถ้อยคำสำนวน เช่น การศึกษาความหมายคำที่ไม่รู้จัก
3.                ลงมือแปลเป็นภาษาไทยด้วยถ้อยคำสำนวนที่เรียบง่าย เพื่อความเข้าใจได้ง่ายขึ้น
หลักการแปลบทละคร
                บทละครก็เป็นวรรณกรรมการแสดง ถ้าไม่มีดนตรีหรือบทร้อง เรียกว่า ละครพูด แต่ถ้ามีดนตรีหรือบทร้อง เรียกว่า ละครร้อง ละครรำ เช่น ละครชาตรี ลิเก และบทละครที่กล่าวถึงงานแปลในที่นี้คือ ละครโศก (Tragedy) ละครชวนขัน (Comedy) ละครโอเปร่า (Opera) และบทละครเวที และในการแปลบทละครใช้วิธีเดียวกับการแปลเรื่องสั้น นวนิยาย  นิทาน นิยาย คือเริ่มต้นจากการอ่านต้นฉบับเพื่อทำความเข้าใจ จากนั้นก็หาความหมายและคำแปลแล้วเขียนด้วยภาษาที่เหมาะสม
การอ่านต้นฉบับละคร
                ในการอ่านต้นฉบับนั้นเราควรอ่านหลายๆครั้ง อ่านครั้งแรกเพื่อทำความเข้าใจเนื้อเรื่องอย่างคร่าวๆ และตรวจสอบความเข้าใจด้วยการตั้งคำถามว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ต่อไปก็คือค้นหาความหมายของคำและวลีที่ไม่รู้จักโดยใช้พจนานุกรมช่วยและหาความรู้รอบตัวเพิ่มเติมเกี่ยวกับต้นฉบับ

หลักการแปลบทททภาพยนตร์
                บทภาพยนตร์ที่นำมาแปลจะถ่ายทอดเป็นบทเขียนก่อน ถ้าไม่มีบทเขียนก็ต้องดูและฟังจากฟิล์ม โดยมีจุดประสงค์หลักคือนำบทแปลไปพากย์ หรืออัดเสียงในฟิล์ม และนำบทแปลไปเขียนคำบรรยายในฟิล์มดั้งเดิม บทภาพยนตร์มมีลักษณะเหมือนบทละคร คือประกอบด้วยคำสนทนา แต่ผู้แสดงภาพยนตร์จะมีจำนวนที่หลากหลายกว่า โดยในการแปลจะมีขั้นตอนเช่นเดียวกับการแปลบทละคร คือต้องอ่านทั้งข้อความ ภาพ และฉากพร้อมๆกันโดยมีสัมพันธภาพต่อกัน
หลักการแปลนิทาน นิยาย
1.                การอ่านต้นฉบับนิทาน
อ่านครั้งแรกอย่างเร็วเพื่อทำความเข้าใจ แล้วตรวจสอบความเข้าใจโดยการตั้งคำถามว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อใด ทำไม และอ่านอีกครั้งอย่างช้าๆ เพื่อค้นหาความหมาย และคำแปล ทำรายการคำ วลีที่ไม่ทราบความหมาย
2.                การเขียนบทแปล
การใช้ภาษาในนิทานเป็นภาษาระดับกลาง การใช้ภาษาแปลในการแปลสรรพนามที่ตัวละครใช้แทน ควรใช้ภาษาเก่า เช่น เจ้า ข้า และในตอนจบจะเป็นคำสอน สามารถแปลตรงตัวได้เลย
หลักการแปลเรื่องเล่า
1.                การอ่านต้นฉบับเรื่องเล่า อ่านหลายๆครั้ง โดยครั้งแรกจะอ่านเร็วเพื่อทำความเข้าใจเนื้อเรื่อง และอ่านช้าๆในครั้งต่อไป เพื่อค้นหาความหมายของคำที่เราไม่เข้าใจ
2.                การเขียนบทแปล ภาษาที่ใช้จะเป็นภาษาระดับกลาง มีความกำกวม และอารมณ์ขัน ผู้แปลต้องเลือกหาคำที่ฟังดูน่าขัน
หลักการแปลการ์ตูน
1.                การอ่านแลดูภาพการ์ตูน ในการอ่านครั้งแรก จะอ่านอย่างเร็วเพื่อทำความเข้าใจกับคำพูดและภาพ และตอบคำถาม ใคร ทำอะไรในแต่ละภาพ
2.                การเขียนบทแปล เมื่อเข้าใจเรื่องราวตลอดแล้ว อ่านซ้ำอีกครั้งอย่างละเอียดเพื่อเตรียมการเขียน
หลักการแปลกวีนิพนธ์
                กวีนิพนธ์เป็นวรรณกรรมที่แต่งเป็นร้อยกรอง มีกฎดชเกณฑ์แน่นอนตายตัวด้วยการจำกัดจำนวนคำ จำนวนพยางค์ และจำนวนบรรทัด ทั้งเสียงหนัก-เบา การสัมผัส และจังหวะ โดยเรียกว่า ฉันทลักษณ์
ลักษณะการแปล
1.                แปลเป็นร้อยกรอง ใช้กับวรรณคดีโบราณที่มุ่งเน้นทั้งเนื้อหาสาระและความไพเราะของภาษา โดยผู้แปลหวังว่างานแปลของตนนั้นจะเป็นวรรณคดีอีกหนึ่งชิ้นในอีกภาษาหนึ่ง
2.                แปลเป็นร้อยแก้วที่ประณีต เพื่อการสื่อสารความคิดและวัฒนธรรมอื่นๆในกวีนิพนธ์
จากที่ดิฉันได้ศึกษา ความรู้ที่ได้รับคือ วรรณกรรมนั้นมีงานเขียนที่หลากหลายและมีการแปลที่แตกต่างกันออกไปบ้าง เพราะฉะนั้นเมื่อเราแปลงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งเราควรจะศึกษาหลักการแปลของงานนั้นๆให้เป็นอย่างดี เพื่อความถูกต้องของงาน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น