วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Learning Log ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ


                ในการเขียนงานแปลออกมานั้น โดยส่วนใหญ่แล้วเราจะคำนึงถึงคงความหมายของต้นฉบับไว้ให้เหมือนเดิมที่สุด แต่ในอีกด้านหนึ่งของภาษาที่เราแปลออกมานั้น เราจะต้องแปลให้ออกมาสละสลวย ไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย และมีความหมายเหมือนต้นฉบับ ซึ่งในการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยนั้น เราก็จะต้องใช้ “ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ”
                การเขียนบทแปลที่ดีจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยต้องเขียนด้วย “ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ” ซึ่งหมายถึง ภาษาเขียน ภาษาพูดที่คนไทยทั่วไปใช้กันจริงในสังคมไทย ผู้อ่านหรือผู้ใช้งานสามารถเข้าใจได้ทันที ไม่มีอุปสรรคในการรับสารที่สื่อจากบทแปล
                องค์ประกอบที่นักแปลต้องพิจารณาในการเขียนบทแปลด้วยภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ ได้แก่ องค์ประกอบย่อยของการแปล คือ คำ ความหมาย การสร้างคำ และสำนวนโวหาร ดังนี้
                คำ ความหมาย และการสร้างคำ
                คำและความหมาย คำบางคำมีความหมายแตกต่างกันหลายอย่าง มีทั้งความหมายตรงและความหมายแฝง หรือความหายเชิงเปรียบเทียบ เช่น
เบี้ยว
ความหมายตรง: ลักษณะของสิ่งที่กลม แต่ไม่กลม บิด ไม่กลม
ความหมายแฝง: ไม่ซื่อสัตย์ ทรยศ หักหลัง เชื่อถือไม่ได้
                คำบางคำมีความหมายแตกต่างกันไปตามยุคสมัย เช่น สมัยในสมัยก่อนมีความหมายอย่างหนึ่ง แต่ในปัจจุบันมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง อาจจะตรงกันข้าม แย่ลง หรือดีขึ้นก็ได้ เช่น
กู สมัยก่อนเป็นคำที่ใช้เรียกกันทั่วไป แต่ในปัจจุบันเราจะมองว่ามันเป็นคำหยาบคาย มีความหมายที่แย่ลง
การสร้างคำกริยา
                เป็นการเสริมท้ายคำกริยาด้วยคำกริยา ซึ่งอาจจะมองว่ามันซับซ้อน แต่มันจะทำให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้นถ้าเราเข้าใจความหมายที่แท้จริงของมัน ซึ่งได้แก่ ขึ้น ลง ไป มา ในที่นี้จะใช้เป็นคำบอกปริมาณ และทิศทาง ดังนี้
                ทำขึ้น คือ มาก ชัดเจน เช่น หัวเราะขึ้น เกิดขึ้น พูดขึ้น ปรากฏขึ้น
                ช้าลง คือ เพียงเล็กน้อย เช่น แก่ลง เสื่อมลง เลวลง ผอมลง เตี้ยลง จางลง
                จากไป คือ ห่างไกลออกไป เช่น พูดไป คิดไป ทำไป ร่วงไป เลิกไป
                กลับมา คือ ใกล้ เช่น บอกมา เขียนมา พูดมา วิ่งมา
การเข้าคู่คำ
                เป็นการนำคำหลายคำเข้ามาคู่กัน เพื่อให้ได้คำใหม่โดยมีความหมายใหม่หรือมีความหมายคงเดิม ดังนี้
คู่คำพ้องความหมาย
·        ทรัพย์สิน (ความหมายคงเดิม)
·        ห้ามไม่ให้ (ความหมายคงเดิม)
·        ผู้ใหญ่ผู้น้อย (ความหมายตรงข้าม)
·        ผู้หญิงผู้ชาย (ความหมายตรงข้าม)
·        ลูกเมีย (ความหมายต่างกัน)
·        รถไฟ (ความหมายต่างกัน)
สำนวนโวหาร
                เป็นการเปรียบเทียบ เพื่อให้เกิดความบันเทิง แต่ถ้าผู้อ่านไม่เข้าใจก็จะได้ผลตรงกันข้าม
                สำนวนที่ประกอบด้วยคำว่า “ให้” จะไม่มีความหมายเหมือนเมื่อเป็นกริยาสำคัญ แต่มีความหมายอย่างอื่น ดังต่อไปนี้
·        จนกระทั่ง เช่น รับประทานให้หมด
·        กับ แก่ เช่น พ่อค้าขายของให้ลูกค้า
·        เพื่อที่จะ เช่น ฉันเอาผ้าไปให้เขาตัดเสื้อ
·        เพื่อที่จะ เช่น แต่งตัวให้สบาย
สำนวนที่มีคำซ้ำ
คำเดียวกันซ้ำกัน (ซ้ำรูป) และคำที่มีความหมายเหมือนกัน (ซ้ำความหมาย) ซึ่งจะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ข้อดี
·        เพื่อที่จะให้เกิดความไพเราะ ถ้ามีการซ้ำรูปจะทำให้เสียงทอดยาว อ่อนสลวย
·        เพื่อให้มีความหมายอ่อนลง มักจะใช้กับประโยคคำสั่ง เพื่อคลายความบังคับให้กลายเป็นขอร้อง
·        เพื่อให้ได้คำใหม่ๆใช้
·        เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีจำนวนมาก ปริมาณมาก หรือเป็นพหูพจน์
ข้อเสีย
·        เป็นความรุ่มร่ามฟุ่มเฟือยโดยไม่จำเป็น
โวหารภาพพจน์
                นักแปลต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ เนื่องจากนักเขียนมักจะสร้างภาพพจน์อย่างกว้างขวางสลับซับซ้อน ผู้อ่านควรศึกษาแนวคิดในการใช้โวหารภาพพจน์
1.                โวหารอุปมา คือ การสร้างภาพพจน์ด้วยการเปรียบเทียบ เพื่อชี้แจงอธิบาย พูดพาดพิงถึง หรือเสริมให้งดงามขึ้น มักจะใช้คำว่า เหมือนราวกับ ดุจ ประดุจ ประหนึ่ง และอื่นที่มีความหมายเดียวกัน
2.                โวหารอุปลักษณ์ คือ การเปรียบเทียบความหมายโดยนำความเหมือนและไม่เหมือนของสิ่งที่จะเปรียบเทียบมากล่าว
3.                โวหารเย้ยหยัน คือ การใช้คำด้วยอารมณ์ขัน เพื่อเย้ยหยัน เหน็บแนม หรือชี้ให้เห็นข้อบกพร่อง
4.                โวหารขัดแย้ง คือ การใช้คำที่มีความหมายตรงข้ามกันมาเรียงต่อกัน โดยรักษาสมดุล หรือเป็นการกล่าวขัดแย้งกับความเป็นจริง หรือความเชื่อและความคิดเห็นของบุคคลทั่วไป
5.                โวหารที่ใช้ส่วนหนึ่งแทนทั้งหมด คือ การนำคุณสมบัติเด่นๆของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาใช้แทนที่จะเอ่ยนามสิ่งนั้นออกมาตรงๆ
6.                โวหารบุคคลาธิษฐาน คือ การนำสิ่งต่างๆที่ไม่มีชีวิต รวมทั้งความคิด การกระทำ และนามธรรมอื่นๆ มากล่าวเหมือนเป็นบุคคล
7.                โวหารที่กล่าวเกินจริง มีจุดประสงค์ที่จะเน้นให้เห็นความสำคัญ ชี้ให้ชัดเจนและเด่น และใช้เพื่อแสดงอารมณ์ที่รุนแรง ไม่ได้ต้องการอธิบายข้อเท็จจริง
ลักษณะที่ดีของสำนวนโวหาร
1.                ถูกหลักภาษา คือ ไม่ขัดกับหลักไวยากรณ์
2.                ไม่กำกวม คือ ชัดเจน แม่นตรง
3.                มีชีวิตชีวา คือ ไม่เนิบนาบ เฉื่อยชา ยืดยาด
4.                สมเหตุสมผล คือ น่าเชื่อถือ มีเหตุผลรอบคอบ ไม่มีอคติ
5.                คมคายเฉียบแหลม คือ การใช้คำพูดที่เข้มข้น หนักแน่น แฝงข้อคิดที่ฉลาด
จากที่ดิฉันได้ศึกษา ความรู้ที่ได้รับคือ ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาตินั้น เราจะต้องศึกษาองค์ประกอบย่องของภาษา ได้แก่ คำ ความหมาย การสร้างคำ และสำนวนโวหาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น