วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

Learning Log 7

Out class
ในปัจจุบันนี้ผู้คนส่วนมากต้องการที่จะหาวิธีฝึกทักษะด้านต่างๆในวิชาภาษาอังกฤษให้แก่ตนเองเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันกำลังจะเข้าสู่อาเซียน ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกับชาวต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา ฯ ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ต้องหาทางฝึกทักษะให้แก่ตนเอง โดยการฝึกทักษะภาษาอังกฤษนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ที่จะทำให้เราเกิดความเข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน ซึ่งบทความนี้จะเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษทางด้านการฟัง ซึ่งจะเกี่ยวกับการฟังเพลงสากล เพื่อทำให้เราเข้าใจในบทเพลงนั้นมากยิ่งขึ้น
                เพลง Habits ของ Tove Lo จะเป็นเนื้อเพลงเกี่ยวกับผู้หญิงที่มีความเศร้า โดยใช้ชีวิตทิ้งไปวันๆ แบบไร้ประโยชน์ และมีการใช้เงินราวกับเทน้ำเปล่าทิ้ง แต่ก็ไม่ได้ทำให้หายเหงา เธอคิดว่าเขาได้จากเธอไปแต่เธอยังอยู่ที่เดิม และเธอใช้วิธีเมายา เพื่อที่จำกำจัดผู้ชายคนนั้นออกไปจากความคิด และจะใช้เวลาวันๆนึงไปกับการล็อคตัวเองในที่มืด แต่เธอก็ยังลืมเขาไม่ได้ ความคิดก็กลับไปอยู่จุดเดิม พยายามที่จะปล่อยวาง ทำให้ชีวิตกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง พยายามที่จะหลอกตัวเองว่ามันสนุกมากและไม่มีวันสิ้นสุด แต่เธอก็ยังต้องการใครสักคนที่จะมาหยุดความคิดและความชินชาแบบนี้ และจังหวะทำนองของเพลงนี้มีลักษณะทุ้มๆ มีการใช้ดนตรีที่มีการผสมผสานของเครื่องดนตรี ที่ทำให้เกิดความลงตัว และทำให้อยากฟังตลอด
                ความรู้สึกและความคิดหลังจากที่ได้ฟังเพลงนี้ ในรอบแรกก็แปลไม่ออกค่ะว่ามันคือเพลงเกี่ยวกับอะไร เพราะยังจับใจความไม่ค่อยได้ แต่พอฟังไปเรื่อยๆทำให้เกิดความเข้าใจ และจับใจความของเพลงนี้ได้ว่าเนื้อเพลงต้องการจะสื่อความหมายว่าอย่างไร และอีกอย่างเพลงนี้มีทำนองเพลงที่ฟังเท่าไหร่ก็ไม่เบื่อ บทเพลงนี้จะเกี่ยวกับความรัก  แต่เมื่อเลิกรากันไป ทำให้ทำใจได้ยาก และยากที่กับการที่จะอยู่คนเดียว รักจนโงหัวไม่ขึ้น ใช้ชีวิตทิ้งไปวันๆ ซึ่งดิฉันคิดว่าความจริงนั้น ความรักเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต แต่เราก็ควรที่จะคิดให้ได้ว่ามีพบก็ต้องมีจาก ตอนเราเกิดมา เราก็มาแค่คนเดียว เพราะฉะนั้นคิดเสียว่า ในเมื่อเขาไม่ใช่ของเรา เราก็ควรที่จะปล่อยเขาไป ไม่มีใครที่จะเป็นเจ้าของชีวิตของใครทั้งนั้น เราต้องอยู่ให้ได้ ยังมีอีกหลายคนที่รักเรา และเราควรจะรักตัวเองนั่นแหละสำคัญที่สุด

                จากการศึกษานอกห้องเรียน ดิฉันได้ความรู้ คือ การที่เราจะเข้าใจและจับใจความของบทเพลงสักบทได้นั้นเราต้องพยายามฝึกฟังบ่อยๆ ถึงแม้ว่าในรอบแรกๆเราจะไม่เข้าใจก็ตาม แต่เมื่อฟังไปเรื่อยๆจะทำให้จับใจความของเพลงได้ และเมื่อเราเข้าใจความหมายของเพลงนั้นๆ ทำให้เราอยากฟังขึ้นอีก 

Learning Log 6

In class
                        ในการเรียนในห้องเรียนคาบนี้จะเกี่ยวกับการสร้างประโยค ซึ่งในปัจจุบันนี้อาจจะมีโครงสร้างประโยคที่มีมากมายและหลากหลายรูปแบบ ทำให้เกิดความสับสนในรูปของประโยค ทำให้ในบางครั้งเกิดความไม่เข้าใจในโครงสร้างของประโยค และต่อมาจะทำให้เราเกิดแปลความหมายในประโยคผิดไปได้ ดังนั้นเราจึงต้องศึกษาตั้งแต่รูปแบบโครงสร้างของประโยค เพื่อที่จะทำให้เกิดความเข้าใจทีละขั้น ไม่ตีความประโยคผิดเพี้ยนไป
                การเรียนรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของประโยคเกี่ยวกับ adjective clause ลดรูปเป็น adjective phrase โดย adjective clause  หรือเรียกว่า อนุประโยค ที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม โดยมี relative pronouns มาเชื่อมประโยค โดย adjective clause จะอยู่ในรูปของ active และเมื่อลดรูปเป็น adjective phrase จะอยู่ในรูปของ passive เช่น
-                    Jenny who is standing at the bus stop is my sister.
-                    Jenny standing at the bus stop is my sister.
Present และ Past Participial Phrase จะทำหน้าที่ขยายประธาน โดยจะอยู่หน้าประธานของประโยค  แต่ถ้า  present และ past participial phrase อยู่ในรูปของวลียาวๆแล้ว ตำแหน่งของมันจะต้องอยู่ตามหลังประธานที่มันขยายเสมอ เช่น
-                    Those children playing happily in the park go to the demonstration school.
-                    Silk made in Thailand is usually of good quality.
หลักของ present และ past participial phrase ก็เช่นเดียวกับ present และ past participials คือ present  participial phrase มาจาก clause ที่อยู่ในรูป  active voice เช่น
-                    Those children playing happily in the park go to the demonstration school.
มาจากประโยค
-                    Those children who are playing happily in the park go to the demonstration school.
ในทำนองเดียวกัน past participial phrase ก็มาจาก clause ที่อธิบายอยู่ในรูป passive  voice  เช่น
-                    Silk made in Thailand is usually of good quality.
มาจากประโยค
-                    Silk which is made in Thailand is usually of good quality.

จากการศึกษาในห้องเรียน ฉันได้ความรู้ คือ adjective clause คืออนุประโยค ที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม โดยมี relative pronouns มาเชื่อมประโยค และเมื่อจะลดรูปประโยคจาก adjective clause  เป็น adjective phrase จะลดโดยการตัด relative pronouns และ V.to be

Learning Log 5

Out class
               การเรียนภาษาอังกฤษนั้นควระหาวิธีการเรียนที่เหมาะเพราะจะทำให้เราเข้าใจมากขึ้น ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่เหมาะสมอย่างมากในการเรียน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางธุรกิจ การท่องเที่ยว หรือเหตุผลส่วนตัวอื่นๆ แต่การเรียนภาษานั้น ไม่ว่าจะภาษาใดก็ตาม ก็ต้องใช้ความขยัน ความตั้งใจและไม่อายที่จะพูดถึงแม้ว่าอาจจะผิด และในหัวข้อต่อไปนี้จะกล่าวถึงเทคนิคในการเรียนภาษาอังกฤษ
1) ลองฝึกพูดภาษาอังกฤษวันละน้อยๆทุกวัน วิธีที่ดีที่สุดในการเรียนภาษา คือ การพูดภาษานั้นๆ ไม่ว่าคุณจะเพิ่งเริ่มพูดและรู้ศัพท์เพียงเล็กน้อยหรือคุณค่อนข้างพูดภาษาอังกฤษได้อย่างตล่องแคล่วแล้ว การพูดภาษาอังกฤษกับคนอื่นเป็นวิธีฝึกพูดภาษาอังกฤษที่ดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
- อย่ารอจนกว่าคุณจะรู้สึกพร้อมที่จะพูดภาษาอังกฤษเพราะคุณมักจะไม่รู้สึกแบบนั้นถ้าคุณเพิ่งหัดพูด สิ่งที่คุณควรทำคือ หัดพูดภาษาอังกฤษตั้งแต่วันนี้
2) ฝึกการอ่านออกเสียงให้ถูกต้อง แม้ว่าคุณอาจจะเข้าใจภาษาอังกฤษในระดับหนึ่งแล้ว เพราะคุณรู้ไวยากรณ์ที่ถูกต้องและรู้ศัพท์มากมาย แต่ฝรั่งก็อาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจสิ่งที่คุณพูดหากคุณยังออกเสียงได้ไม่ถูกต้อง
- การออกเสียงให้ชัดเจนเป็นสิ่งจำเป็นถ้าคุณต้องการเพิ่มทักษะด้านภาษาอังกฤษ
- สังเกตเสียงพยัญชนะ หรือสระที่คุณไม่คุ้นเคย เพราะเสียงนั้นไม่มีในภาษาไทย
- การออกเสียงคำภาษาอังกฤษบางคำอาจจะออกเสียงได้หลายแบบโดยขึ้นอยู่กับสำเนียงนั้นๆ เช่น สำเนียงของคนอเมริกัน สำเนียงของคนอังกฤษ เป็นต้น
3) จดจำและเรียนรู้ศัพท์รวมไปถึงสำนวนต่างๆในภาษาอังกฤษ ยิ่งคุณรู้ศัพท์และสำนวนเหล่านี้มากเท่าไหร่ การพูดภาษาอังกฤษของคุณก็จะง่ายขึ้นเท่านั้น
- วิธีหนึ่งในการจดจำและเรียนรู้สำนวนต่างๆก็คือ การพูดคุยกับฝรั่ง ซึ่งจะทำให้คุณสามารถใช้ศัพท์และสำนวนได้อย่างถูกต้อง และฟังดูเป็นธรรมชาติ นอกจากนี้คุณอาจจะลองฝึกจากการอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ การดูทีวีและการฟังข่าวเป็นภาษาอังกฤษ
- เมื่อคุณเรียนรู้ศัพท์ หีือสำนวนใหม่ๆ คุณควรลองแต่งประโยคจากคำหรือสำนวนนั้นๆ เพราะการแต่งประโยคเป็นวิธีที่ช่วยให้คุณจำคำ หรือวลีเหล่านั้นได้ดีที่สุด
- การจดจำคำศัพท์ คือ การแปะป้ายคำศัพท์ไว้ในสิ่งต่างๆรอบบ้าน เมื่อใช้สิ่งของต่างๆเหล่านั้น ก็จะเห็นคำศัพท์ของสิ่งของนั้นๆแล้ว ก็จะจำได้ในที่สุด
- ลองหาสมุดเปล่าสักเล่มมาจดสำนวนภาษาอังกฤษต่างๆที่ฝรั่งใช้เป็นประจำ เช่น “It’s raining cats and dogs.” แปลว่า ฝนตกหนัก หรือ “cloud mine” แปลว่า มีความสุขมาก
4) สมัครเรียนภาษาอังกฤษที่สอนให้พูดเป็นกลุ่ม การเข้าเรียนทำให้เราได้หัดพูดภาษาอังกฤษเป็นประจำ
- การเรียนคอร์สภาษาอังกฤษก็เป็นวิธีที่ดีในการหัดพูดภาษาอังกฤษให้ถูกต้อง ครูจะสอนให้พูดได้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และมักจะสอนโครงสร้างไวยากรณ์ ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้ง่าย
- การจัดกลุ่มหัดพูดภาษาอังกฤษเป็นอีกวิธีที่ทำให้คุณเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ โดยวิธีนี้จะเน้นให้คุณสามารถสื่อสารได้เข้าใจมากกว่าเน้นเรื่องความถูกต้องของไวยากรณ์ แต่การหัดพูดด้วยวิธีนี้ จะทำให้คุณกล้าพูดภาษาอังกฤษต่อหน้าคนอื่นได้มากขึ้น
5) พกพจนานุกรมติดตัวคุณตลอดเวลา
- การพกพจนานุกรมจะช่วยให้คุณไม่ติดคำศัพท์ ซึ่งจะช่วยให้ไม่ต้องอาย เวลาที่คุยกับฝรั่งแล้วลืมคำศัพท์ เพราะสามารถค้นหาคำศัพท์ได้ทันที
- การพกพจนานุกรมยังช่วยให้คุณสามารถท่องศัพท์ได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะเมื่อมีเวลาระหว่างวัน เช่น ระหว่างนั่งรถกลับบ้าน ระหว่างรอสัญญาณไฟข้ามถนน สามารถจำคำศัพท์เพิ่มได้มากถึง 20-30 คำต่อวันเลยทีเดียว
- สำหรับผู้ที่เริ่มต้นเรียนภาษาอังกฤษ ควรใช้พจนานุกรมที่แปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยก่อน แต่เมื่อเริ่มมีทักษะด้านภาษาอังกฤษมากขึ้นแล้ว ควรใช้พจนานุกรมแบบแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งจะแปลคำภาษาอังกฤษด้วยคำอธิบายความหมายของคำนั้นด้วยภาษาอังกฤษ
6) ฟังรายการวิทยุที่เป็นภาษาอังกฤษ โดยอาจจะฟังจากวิทยุโดยตรง หรือดาวน์โหลดแอพพลิเคชันวิทยุลงในมือถือ เพื่อฝึกการฟังจับใจความภาษาอังกฤษ
- พยายามฝึกฟังรายการเหล่านี้ให้ได้อย่างน้อยประมาณ 30 นาทีต่อวัน โดยอาจจะฟังระหว่างที่คุณออกกำลังกาย หรือระหว่างที่นั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ก็ได้
- ควรจะพยายามเข้าใจในสิ่งที่ฟัง ไม่ใช่ฟังผ่านๆ แม้อาจจะฟังไม่ทันบ้าง ก็พยายามจับคำหลัก หรือวลีหลักๆ เพื่อเข้าใจว่ารายการนั้นกำลังพูดถึงอะไรอยู่
7) ฝึกจากการดูหนัง หรือรายการทีวีภาษาอังกฤษ ก็เป็นวิธีที่ทั้งสนุกและช่วยเพิ่มทักษะการฟังได้
- เลือกหนัง หรือรายการทีวีที่ชอบมาสักเรื่อง ซึ่งจะช่วยให้ไม่เบื่อกับการฝึก หากเป็นไปได้ให้พยายามเลือกหนัง หรือรายการที่คุณคุ้นเคยอยู่แล้ว จะฟังออกและเข้าใจได้มากขึ้น
- ควรจะดูหนัง หรือรายการทีวี โดยใช้คำบรรยายที่เป็นภาษาไทยช่วย คำบรรยายเหล่านี้จะเบนความสนใจ ทำให้ไม่ได้สนใจที่จะฟังภาษาอังกฤษให้เข้าใจ และจะทำให้การฝึกไม่ได้ผล
8) หาหนังสือหรือนิตยสารภาษาอังกฤษสักเล่ม หรือไม่ก็หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษสักฉบับมาอ่าน การอ่านเป็นสิ่งจำเป็นในการเรียนรู้ภาษาใหม่ๆเช่นกัน
- หากสิ่งที่สนใจจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นนิยายภาษาอังกฤษชื่อดังสักเล่ม หรือนิตยสารแฟชั่น แล้วก็เริ่มฝึกอ่าน หากสิ่งที่คุณอ่านไม่น่าสนใจ โอกาสที่จะหยิบมาฝึกอ่านก็จะน้อยลง
- คุณควรพยายามทำความเข้าใจในสิ่งที่คุณอ่านได้จริงๆ ไม่ใช่แค่อ่านผ่านๆ แต่ควรขีดเส้น หรือจดบันทึกคำ หรือวลีที่คุณไม่เข้าใจแล้วไปค้นความหมายในพจนานุกรม
9) เขียนไดอารี่เป็นภาษาอังกฤษ นอกจากการอ่านและการฟังแล้ว การเขียนเป็นทักษะอีกที่ควรฝึกฝน
- การเขียนนั้นอาจจะเป็นทักษะทางภาษาที่ค่อนข้างยากแต่ทักษะการเขียนก็จำเป็น การเขียนโดยใช้ภาษาอังกฤษ จะช่วยให้คุณได้ไวยากรณ์และการสะกดคำ
- พยายามเขียนไดอารี่เป็นภาษาอังกฤษด้วยประโยคสองสามประโยคทุกๆวัน ประโยคที่เขียนไม่จำเป็นจะต้องเป็นส่วนตัว คุณอาจจะเขียนเรื่่องสภาพอากาศ
10) หาเพื่อนเป็นฝรั่งสักคน แล้วลองเขียนจดหมายหรืออีเมล์ถึงกัน ถ้าภาษาอังกฤษคุณพัฒนาขึ้นถึงระดับหนึ่งแล้ว การลองหาเพื่อนคุยทางจดหมายก็เป็นตัวเลือกที่ดีในการพัฒนาต่อไป
11) สิ่งสำคัญในการเรียนภาษาใหม่ๆ คือ ความกะตือรือร้นกับการเรียนภาษานั้นๆอยู่เสมอ
- ตั้งเป้าหมายในการเรียนภาษา แล้วยึดมั่นในเป้าหมายนั้นโดยเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า เราจะได้อะไรบ้างจากการเรียนภาษา หรือเราเรียนภาษาไปเพื่ออะไร นึกถึงเป้าหมายเพื่อผลักดันตนเอง
12) หมั่นฝึกฝนภาษาอังกฤษเป็นประจำ จะช่วยให้คุณใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่วได้ในเวลาไม่นาน โดยเฉพาะเมื่อคุณฝึกทุกวัน
- การเรียนภาษาให้ได้ผลนั้นขึ้นอยู่กับการใช้ภาษาบ่อยๆ หากคุณไม่ได้ทบทวนนานๆ คุณจะลืมสิ่งที่คุณเรียนไปเมื่อครั้งก่อนๆ แล้วต้องเริ่มใหม่อีกครั้ง ซึ่งเป็นการเสียเวลา
- คุณก็ควรจะเปลี่ยนวิธีการทบทวนภาษาอังกฤษบ้าง เพื่อที่จะได้ไม่เบื่อเสียก่อน เช่น จัดเวลาในการทบทวนในแต้ละวันด้วยวิธีต่างๆ
13) ฝึกให้ตัวเองเป็นภาษาอังกฤษ จะช่วยให้คุณใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่วและเป็นธรรมชาติมากขึ้น
- การต้องแปลภาษาไทยไปเป็นภาษาอังกฤษและแปลกลับจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยอยู่ตลอดเวลานั้น ทำให้คุณเหนื่อยและเสียเวลา ทุกภาษามีลักษณะเฉพาะเสมอ ซึ่งทำให้การแปลแบบตรงตัวนั้นไม่สามารถทำได้ตลอดเวลา
- การิดเป็นภาษาอังกฤษตั้งแต่ต้น ซึ่งจะทำให้พูดและเขียนภาษาอังกฤษได้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยคิดเป็นภาษาอังกฤษทุกครั้งที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ
14) หาเพื่อนเป็นฝรั่ง วิธีทดสอบที่ดีที่สุดในเรื่องการใช้ภาษาอังกฤษก็คือ ให้ตุณไปนั่งฟังบทสนทนาระหว่างฝรั่งด้วยกันเอง แล้วดูว่าเข้าใจบทสนทนานั้นมากน้อยแค่ไหน
15) อย่ากลัวที่จะคิด อุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดในการเรียนภาษาใหม่ๆก็คือความกลัวที่จะพูดหรือเขียนผิด
จากการศึกษานอกห้องเรียน ฉันได้ความรู้คือ ทุกคนย่อมผิดกันได้เมื่อเรียนภาษาใหม่ๆ และเราเน้นไปที่ความก้าวหน้าในการเรียนรู้ภาษาใหม่ๆและเราเน้นไปท่่ความก้าวหน้าในการเรียนรู้ภาษา ไม่ได้ตั้งเป้าหมายให้เราพูดภาษาอังกฤษได้ถูกต้องและใช้ภาษาได้เหมือนเจ้าของภาษา





วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

Learning log 4

In class
                 การที่เราจะสนทนานั้นจะต้องประกอบไปด้วยบทสนทนา ซึ่งบทสนทนานั้นจะมีรูปแบบเป็นประโยค ซึ่งการที่จะเข้าใจบทสนทนานั้น เราจะต้องเข้าใจความหมายของประโยค เนื่องจากรูปประโยคนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ดังนั้นการที่เราจะเข้าใจบทสนทนานั้น เราจะต้องเข้าใจรูปประโยคก่อนว่ามีรูปแบบใดบ้าง จึงจะทำให้เราแปลความหมายของประโยคนั้นได้ถูกต้องและเข้าใจมากยิ่งขึ้น ดังนั้นในหัวข้อต่อไปจะเป็นการกล่าวถึงรูปแบบของประโยค เพื่อที่จะทำให้เราเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น
                 หลักการเขียนประโยคภาษาอังกฤษ แบ่งรูปแบบของประโยคโดยรวมได้ดังนี้ 
1) ประโยคความเดียว (Simple Sentence) คือ ประโยคที่ประกอบด้วยกลุ่มคำ และมีความหมายสมบูรณ์ ประกอบด้วยภาคประธาน และภาคกริยา หรืออาจจะมีส่วนเติมเต็มประกอบอยู่ในประโยคด้วย โครงสร้างของประโยคความเดียวมีดังต่อไปนี้ 
ตัวอย่างของประโยคความเดียวในแบบต่างๆ
- The students are happy.  ประธาน + กริยา + ส่วนเติมเต็ม
- Sujin bought the clothes. ประธาน + กริยา + กรรม
- She is reading.  ภาคประธาน + ภาคแสดง
- Linda opens the store.  ภาคประธาน + กริยา + กรรมตรง
- The company is big and famous.  ประธาน + กริยา + กรรม + ส่วนเติมเต็มขยายประธาน
                 กล่าวโดยสรุปได้ว่าประโยคความเดียวจะต้องประกอบด้วย 1 ประธาน 1 กริยา ในส่วนของกรรม ส่วนเติมเต็ม และส่วนขยายอิ่นๆ ผู้เขียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสม
2) ประโยคความรวม ( Compound Sentence) คือ ประโยคที่ประกอบด้วย ประโยคความเดียวอย่างน้อย 2 ประโยค โดยมีคำเชื่อมระหว่างประโยค เช่น and, or และอาจคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) เพื่อให้เป็นประโยคเดียวกัน คำเชื่อมที่ใช้ในการเชื่อมประโยคความรวมนั้น ก็มีอยู่หลากหลายคำด้วยกัน เช่น and , not only...but also, in addition, besides, in the same way จะใช้ในประโยคที่คล้อยไปในทางเดียวกัน คำว่า but, nor, in contrast, neither nor ขะใช้ใในประโยคที่มีความหมายตรงข้ามกัน คำว่า because และ for instance ใช้ในการเชื่อมประโยค เพื่อบอกเหตุผล หรือยกตัวอย่างเพิ่มเติม นอกจากนี้แล้วยังมีคำเชื่อมอื่นๆอีกมากมาย เช่น for, or, so, yet, however, therefore, otherwise, consequently   เป็นต้น โครงสร้างของประโยคจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
- The restaurant is big. - The food is not delicious.
The restaurant is big , but the food is not delicious.
- John will write a homepage. - He will advertise his company.
John will write a homepage, and he will advertise his company.
3) ประโยคความซ้อน ( Complex Sentence) คือ ประโยคที่มีเพียง 1 independent clause เท่านั้น แต่จะมี dependent clause 1 clause หรือมากกว่าหนึ่งก็ได้มาเป็นส่วนขยาย
- You didn't tell me  that you were going to set up a new business. ส่วนที่ขีดเส้นใต้เป็น noun clause
- The couple who lived in the big house at the corner used to be movie stars. ส่วนที่ขีดเส้นใต้เป็น relative clause ทำหน้าที่เป็น adjective clause ขยายคำนาม the couple
4) ประโยคความรวม + ประโยคความซ้อน ( Compound - complex Sentence) คือ ประโยคที่ประกอบกันขึ้นระหว่าง compound sentence กับประโยค complex sentence ธรรมดาๆ หรือประโยคที่มีตั้งแต่ 2 independent clauses ขึ้นไป และมี dependent clauses ตั้งแต่ 1 clause ขึ้นไป ดังนั้น compound-complex sentence จึงประกอบด้วยประโยคหลักตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไป และประโยครองหรืออนุประโยคอย่างน้อย 1 ประโยค
ตัวอย่าง เช่น
While Somsak played the guitar, the boy sang and the girl danced.
Main clause ➡ the boy sang
                       ➡ the girl danced
Subordinate clause ➡ while Somsak played guitar
Adjective clause คือคืออนุประโยคที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนคุณศัพท์ขยายนาม หรือแสดงลักษณะของคำนาม หรือคำสรรพนาม ปกติแล้ว adjective clause จะเชื่อมด้วยประพันธสรรพนาม โดยที่ประพันธสรรพนามนั้นจะเชื่อมคุณานุประโยคดังกล่าวกับคำนามหรือสรรพนามที่มันขยาย ประพันธสรรพนามเหล่านั้น ได้แก่ that, which , where, when, why, who, whom, whose, how, in which, of which, of whom เป็นต้น
Relative pronouns เป็นสรรพนามที่ใช้เชื่อมใจความสำคัญเข้าด้วยกัน โดยใช้เชื่อม adjective clause ที่ทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์ขยายคำนาม หรือคำสรรพนามที่วางอยู่ข้างหน้า
(1) Who ใช้กับคำนามที่เป็นบุคคล หรือเกี่ยวกับคน ซึ่งเป็นประธานของใจความขยาย เช่น
- The manager will employ the application who are bilingual.
- He is the man who can play football very well.
- Person who want to apply this post must have computer knowledge.
(2) Whom ใช้กับคำนามที่เป็นบุคคล หรือเกี่ยวกับคนซึ่งเป็นกรรมของใจความขยาย เช่น
- I saw someone whom you know.
- She is a good girl whom he wants to marry.
- The man (whom) she will marry owns this piece of land.
(3) Whose ใช้แสดงความเป็นเจ้าของของบุคคล ใช้เชื่อมคำนามหรือคำสรรพนามที่เป็นบุคคล ซึ่งวางอยู่ข้างหน้าของมัน เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของแทนคำนาม หรือคำสรรพนามที่มันขยาย เช่น
- This is the woman whose husband is a teacher.
- I know a film star whose father is my friend.
- The boy whose father is in prison is very intelligent.
(4) Which ใช้กับคำนามหรือคำสรรพนามที่เป็นสิ่งของ สัตว์ ซึ่งหากเป็นกรรมของใจความขยายก็สามารถละทิ้งได้ เช่น
- This is the house which belong to my sister.
- The basket which is on the table is full of rambutans.
(5) Where ใช้กับคำนามประเภทสถานที่ ซึ่งถ้าหากเป็นกรรมของใจความขยายก็ละทิ้งได้ เช่น
- That is the house (where) she lives.
- This is the place where is mortgaged.
(6) When ใช้กับคำนามที่บอกเวลา เพื่อขยายสิ่งที่อยู่ข้างหน้า เช่น
- I can’t remember the year when I first met her.
- She does not know the time when her friend leaves for Canada tomorrow.
(7) Why ใช้ขยายคำนามที่มีความหมายถึงสาเหตุ เหตุผล คำอธิบาย ซึ่งวางอยู่ข้างหน้า เช่น
- I would like to know the reason why you are always late.
- Everyone is waiting for your explanation why you missed the whole classes last week.
(8) That ใช้กับคำนามที่เป็นบุคคล สัตว์ สิ่งของ สถานที่ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ สามารถใช้แทน who, whom, where, which ก็ได้ เช่น
- The robbers that robbed the bank  last week are arrested.
- The month that people send their love cards and red roses is February.
ลักษณะของประโยง adjective clause จะนำหน้าด้วย relative words ดังคำต่อไปนี้
1) Relative pronoun คือสรรพนามที่ใช้เชื่อมประโยค subordinate clause เข้ากับประโยง main clause โดยใช้เชื่อม หรือขยายคำนาม หรือคำสรรพนามที่วางอยู่หน้าประโยค adjective clause ซึ่งจะมีคำเชื่อมที่นำหน้าประโยคดังนี้
- Relative pronoun ใช้แทนคน : who, whom, whose, that
- Relative pronoun ใช้แทนสิ่งของ : which, of which, that
2) Relative adverb ได้แก่ where, when, why
ตำแหน่งของ relative clause
1. ประโยค relative clause เมื่อใช้ขยายคำนามหรือคำสรรพนามตัวใดให้วางประโยค relative clause ไว้หลังคำนั้นทันที เช่น
The man who lives next door is a teacher.
(who lives next door เป็น adjective clause ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า คือ the man )
2. เมื่อใช้ relative pronoun แทนคำนามหรือคำสรรพนามในประโยค แล้วให้ตัดคำนาม หรือคำสรรพนามที่ relative pronoun นั้นใช้แทนออกไป เช่น
John married a woman who works in his office.
ประโยคข้างบนมาจาก 2ประโยคด้วยกัน คือ
A : John married a woman .
B : A woman (she) works in his office.
ประโยค B คือประโยค relative clause ประธานเป็นคน คือ a woman ใช้แทน who แทนประธานที่เป็นคนและตัดคำนาม a woman ออกเพราะใช้ who แทนแล้ว
ประเภทของ adjective clause แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1) Defining clause ใช้ชี้เฉพาะคำนามที่มาข้างหน้าว่าคนไหน สิ่งไหน อันไหน ไม่ใช้เครื่องหมายใดๆคั่นระหว่างคำนามกับ adjective clause ที่ตามมา
- A letter which was in a pink envelope was one seeking for a donation to converse wildlife.
- The group of foreigners who visited our university was from Hawaii.
2) Non-defining clause ใช้ในการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำนามที่มาข้างหน้า โดยมีเครื่องหมาย comma (,) คั่นระหว่างคำนามกับ adjective clause ที่ตามมา
- His house, which is on Sukhumvit Road, is a two-story house.
- His wife, who teaches English at NIDA, got a Ph.D. from the USA.
ข้อสังเกต
(1) การใช้ non-defining clause สามารถใช้ได้กับคำนามทั่วไป
(2) ห้ามใช้ that ใน non-defining clause
(3) ไม่มีการละเชื่อมคำใน non-defining clause
3) Sentential Relative Clause ใช้ในการหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทั้งข้อความ ไม่ใช่เฉพาะคำนามท่่มาข้างหน้า และจะใช้ which นำหน้าเท่านั้นโดยมีเครื่องหมาย comma คั่นจาก main clause
- Jane gave him a smile, which surprised him a great deal .
Which surprised him a great deal เป็น adjective clause ขยายความใน main clause  คือ Jane gave him a smile.
      ทั้งนี้ไม่มีการละคำนำหน้า / คำเชื่อมใน sentential relative clause
การลดรูป adjective clause เป็น adjective phrase มีหลักการและขั้นตอนดังต่อไปนี้
1) การลดรูป relative clause ที่เป็น adjective clause ให้เป็นวลี adjective phrase โดยการใช้ V.3 และV.ing
A) The guy who chattered with Big John through Skype a few days ago was Dave.
ลดรูปเป็น
B) The guy chattering with Big John through Skype a few days ago was Dave.
หลักการลดรูป
(1) ตัด Relative pronoun ทิ้ง (Relative pronoun: that,who,whom,which,whose)
(2) เปลี่ยนกริยาที่ติดอยู่กับ Relative pronoun ให้เป็น V.ing ในกรณีที่คำนามนั้นทำกริยาได้ หรือเปลี่ยนเป็น V.3 ถ้าคำนามนั้นเป็นผู้ถูกกระทำ ซึ่งเราสามารถสังเกตได้จากรูปแบบกริยา เช่น
A) Big John provided and wrote an English column which describes English grammatical structure .
B) Big John provided and wrote an English column which describing English grammatical structure .
2) การลดรูป relative clause ที่เป็น adjective clause ในโครงสร้าง passive voice ให้เป็นวลี เราสามารถทำได้ดังนี้
  ➡ Students who are trained in mathematics can be engineers in the future.
  ➡ Students who are trained in mathematics can be engineers in the future.
จากประโยคข้างต้น เราพบว่าวลี who are นั้นถูกละ และคงไว้แต่ V.3 แสดงว่าคำนามที่ปรากฎหน้าV.3 นั้นถูกกระทำ หรืออยู่ในรูป passive voice นั่นเอง
        การลดรูปนั้นไม่ได้ปรากฎในกลุ่ม defining relative clause เท่านั้น แต่ยังปรากฎใน non-defining clause ได้ด้วยเช่นกัน เมวื่อลดรูปแล้วอาจจะปรากฎในรูปของกลุ่มคำนาม ,V.3 , V.ing
A) Big John, who is one of the most famous columnist at present , has a lot of fun .
ลดรูปเป็น
Big John , one of the most famous columnist at present , has a lot of fun.
จากการศึกษาในชั้นเรียน ฉันได้ความรู้คือ Simple sentence มี independent clause อันเดียว , compound sentence มีตั้งแต่สอง independent clause ขึ้นไป และแต่ละ clause แยกออกมาเขียนเป็น simple sentence ได้ ไม่มี independent clause , complex sentence มีเพียงหนึ่ง independent clause แต่จะมี dependent clause 1 clause และ compound-complex sentence มีตั้งแต่ 2 independent clause ขึ้นไป และมี dependent clause ตั้งแต่ 1clause ขึ้นไป และ adjective clause ทำหน้าที่เป็นเหมือนคำหนึ่งที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม และคำสรรพนาม และมีการลดรูปจาก adjective clause เป็น adjective phrase


                                                                                              Out class
                ในปัจจุบันนี้เราอยู่ในยุคข้อมูลข่าวสารที่ไร้พรมแดน เช่นการสื่อสารในช่วงเวลานี้ต้องมีภาษากลางในการสื่อสารกับชาวต่างชาติ อย่างไรก็ตามภาษาเหล่านี้มีความสำคัญในทุกมิติ เพื่อที่จะต้องใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารงานอยู่เป็นประจำ ถ้าทุกคนมีความรู้ความเข้าใจด้านภาษาเหล่านี้ย่อมจะเกิดผลดีต่อตนเอง ซึ่งจะทำให้เกิดความทันสมัย โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งสมมติมีความเชี่ยวชาญในการแปลก็จะเป็นประโยชน์เป็นอย่างมาก เนื่องจากบางศัพท์ของภาษาอังกฤษไม่สามารถแปลมาเป็นภาษาไทยโดยเจาะจง ฉะนั้นจะต้องมีทักษะในการแปล จะทำให้เราเข้าใจในภาษาอังกฤษมากขึ้น
                การแปล คือ การถ่ายทอดข้อความจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง การตีความหมายหรือการทำให้เข้าใจความหมาย การอธิบายโดยใช้ถ้อยคำสำนวนอย่างอื่น และรักษารูปแบบ คุณค่า และความหมายในข้อความเดิมไว้อย่างครบถ้วน รวมทั้งความหมายแฝง ซึ่งได้แก่ ความหมายทางวัฒนธรรม ปรัชญา ความคิด และความรู้สึก เป็นตัน เมื่อเราเข้าใจหลักการแปลก็จะทำให้การแปลของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งการแปลนั้นไม่เพียงแต่เปิดหาศัพท์จากพจนานุกรมเท่านั้น แต่ยังต้องอาศัยศาสตร์และศิลป์ เพื่อให้เข้าถึงสิ่งที่เราต้องการจะแปล เพื่อความเข้าใจในการแปลได้ดียิ่งขึ้น
                หลักการแปล/ลักษณะของภาษาในงานแปลที่ดี การแปลให้ได้ทั้งความถูกต้องและสำนวนที่ไพเราะ อาจจะยึดหลักการแปลง่ายๆ 4 ประการดังนี้ 1) มีความชัดเจน คือเป็นภาษาที่มีลักษณะกระชับ ไม่ใช้คำที่ไม่จำเป็น รูปประโยคควรเป็นประโยคสั้นๆ หลีกเลี่ยงประโยคโครงสร้างที่ซับซ้อน มีการใช้ข้อความที่ถ่ายทอดความคิดได้แจ่มแจ้ง เช่น ประโยคเดียวแสดงความคิดเดียว ไม่กำกวมหรือชวนตีความได้หลายแง่มุม 2) ใช้ภาษาได้เหมาะสม ผู้แปลต้องเลือกใช้ลีลาการเขียนให้สอดคล้องกันกับลักษณะของเรื่องที่จะแปล เช่นการแปลนวนิยายอาจใช้สำนวน ทำให้เกิดภาพพจน์  3) ใช้ภาษาเรียบง่าย ใช้ภาษาที่เรียบง่ายสัมพันธ์กับความคิดที่กระจ่างแจ้งและตรงตามต้นฉบับ  4) มีความสมเหตุสมผล ในการแปลภาษามีความสมเหตุสมผลต่างกัน ดังนั้นภาษาที่ใช้ในการแปลต้องมีความสมเหตุสมผลเท่าๆกันกับภาษาต้นฉบับ
                ขั้นตอนการแปล เพื่อให้ได้ผลงานที่ดีตรงกับความต้องการ ควรดำเนินตามขั้นตอนดังนี้ 1) กำหนดวิธีการแปล เมื่อได้งานที่จะแปล ให้กำหนดวิธีการแปลที่เหมาะสมกับเนื้อหานั้นให้มากที่สุด ถ้าวิธีการแปลไม่เหมาะกับงาน อาจได้ผลงานไม่ดี  2) ถ่ายทอดเป็นประโยคพื้นฐาน  การถ่ายทอดเป็นประโยคพื้นฐานจะทำให้แปลง่าย และเข้าใจง่าย โดยผู้แปลจะต้องทำความเข้าใจกับต้นฉบับเป็นอย่างดี สามารถแยกออกเป็นประโยคสั้นๆได้  3) เรียบเรียงประโยคใหม่ เมื่อได้ประโยคพื้นฐานแล้ว ก็ดัดแปลงเพื่อให้ได้ประโยคที่เหมาะสมยิ่งขึ้น  4) ปรับปรุงแก้ไข สำรวจผลงานอีกครั้ง เพื่อปรับปรุงแก้ไข ดัดแปลงจนกว่าจะพอใจ โดยในการแปลนั้นเราก็จะต้องเป็นผู้แปลที่ดีอีกด้วย  เพราะจะทำให้งานที่ออกมานั้นดูดียิ่งขึ้น
                คุณสมบัติที่ดีของนักแปล คือ 1) ผู้แปลต้องเข้าใจนัยและความหมายของผู้เขียนตันฉบับเป็นอย่างดีว่าผู้เขียนมีจุดประสงค์อย่างไร ต้องการให้อะไรกับผู้อ่าน เพื่อจะได้ถ่ายทอดจุดประสงค์นั้นไปยังผู้อ่านฉบับแปลได้ถูกต้อง  2) ผู้แปลต้องมีความรู้ทั้งภาษาต้นฉบับและภาษาที่แปลเป็นอย่างดี เพื่อจะได้แปลอย่างถูกต้อง  3) ผู้แปลควรพยายามเลี่ยงการแปลคำต่อคำที่สุด มิฉะนั้นจะทำให้ผู้อ่านฉบับแปลไม่สามารถเข้าใจฉบับแปลได้  4) ผู้แปลควรใช้รูปแบบของภาษาที่เป็นมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ และใช้กันทั่วไป ไม่ใช่คิดคำแสลงใหม่ๆขึ้น หรือใช้คำที่ไม่สุภาพไม่เป็นที่นิยม  5) ผู้แปลต้องรู้จักเลือกใช้ถ้อยคำสำนวนที่เหมาะสมให้ถูกต้องกับความหมายตามต้นฉบับและรักษาบรรยากาศของต้นฉบับไว้
                ผู้แปลต้องเข้าใจทั้งสองภาษาเป็นอย่างดี คือทั้งภาษาต้นฉบับและภาษาฉบับแปล ต้องมีความรู้และภูมิหลังในเรื่องที่แปลพอสมควร ต้องมีความสามรถในการใช้ภาษาเป็นอย่างดี เพื่อจะได้ถ่ายทอดความคิดของผู้เรียนต้นฉบับให้ผู้อ่านฉบับแปลรู้เรื่อง เข้าใจและอ่านได้อรรถรส

                จากการศึกษานอกชั้นเรียน ฉันได้ความรู้ คือ ในการแปลนั้นเราจะต้องเข้าใจภาษาต้นฉบับที่เราจะแปลและภาษาฉบับแปล เพราะมิฉะนั้นจะทำให้งานที่แปลออกมาไม่ดีเท่าที่ควร

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

Learning log 3

In class
               ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และเข้ามามีบทบาทสำคัญในวิถีชีวิตของคนจำนวนไม่น้อย ส่งผลให้ภาษาอังกฤษมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เพราะถือว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร การศึกษาค้นคว้าแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย รวมถึงการประกอบอาชีพ ซึ่งจะต้องอาศัยการสื่อสารโดยส่วนใหญ่ การสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆจะสื่อสารกันได้อย่างน้อยที่สุดก็ต้องฟังรู้เรื่องก่อนแล้วจึงสามารถพูดตอบโต้ได้ หรือพูดได้ หรือใช้เป็น และเป็นประโยชน์ เพราะฉะนั้นถ้าเราจะเข้าใจในด้านการสื่อสารให้มากขึ้นนั้น  เราจะต้องทำความรู้จักกับโครงสร้างประโยคให้มีความแม่นยำเสียก่อน โดยจะเปลี่ยนโครงสร้างของประโยคไปตามเวลา จะทำให้เราเข้าในมากขึ้นว่าควรจะใช้ยังไง เมื่อไหร่
                ในการศึกษารูปแบบของประโยคในภาษาอังกฤษ เพื่อที่จะทำให้เราเข้าใจสถานการณ์มากขึ้นนั้นมีรูปแบบประโยค 12 แบบ ได้แก่ 1) Simple present ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหรือเหตุการณ์ที่ทำเป็นประจำโดยมีคำบ่งบอก เช่น always , often  เป็นต้น และจะมีคำบ่งบอกเวลาว่าเกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น  every day , every month , today  ฯลฯ ซึ่งมีโครงสร้างประโยคดังนี้ “ S + V1 ”  2) Simple past ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงไปแล้วในอดีต จะมีคำบ่งบอกเวลา เช่น last night , yesterday one year ago ฯลฯ มีโครงสร้างประโยคดังนี้ “ S + V2 ”  3) Simple future ใช้กับเหตุการณ์ที่คาดเดาว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งมีคำบ่งบอก เช่น tomorrow , next year ฯ และมีโครงสร้างประโยค คือ “ S + will/shall + V14) Present continuous ใช้กับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นหรือกำลังกระทำอยู่ในขณะที่พูด โครงสร้างของประโยค คือ “ S + is,am,are +V.ing ”  5) Past continuous ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและดำเนินไปอยู่ในอดีตหรือเกิดขึ้นและดำเนินไปอยู่ในช่วงใดช่วงหนึ่งในอดีต โดยอาจจะมีคำกริยาวิเศษณ์บอกเวลาในอดีตระบุไว้ เช่น yesterday , at the moment yesterday เป็นต้น โดยมีโครงสร้าง คือ “ S + was,were + V.ing ” ซึ่งในบางครั้งจะมีใช้กับ past continuous  กับเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคู่กับในอดีต โดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ใช้ past continuous  ส่วนเหตุการณ์ที่เข้ามาแทรกใช้ past simple โดยจะมีตัวเชื่อมทั้ง 2 คือ when , while  6) Future continuous ที่รูปแบบประโยคที่บ่งถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดในช่วงเวลาที่แน่นอนในอนาคต มีโครงสร้างของประโยค คือ “S + will/shall + be + V.ing ”  7) Present perfect * ใช้กับการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตและดำเนินมาจนถึงปัจจุบันซึ่งโดยมากแล้วจะมีกริยาวิเศษณ์จำพวก since , for เป็นต้น *ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตแต่ยังแสดงผลให้เห็นในปัจจุบันและบ่อยครั้งจะมีคำกริยาวิเศษณ์จำพวก ever , never , just , already , yet เป็นต้น *ใช้กับการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตแต่ไม่ได้ระบุเวลา *ใช้กับการกระทำหรือเหตุการณ์ที่เพิ่งจะจบลงไปอย่างสมบูรณ์ โดยมีโครงสร้างดังนี้ “ S + have,has + V3 ”  8) Past perfect ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งจะป็นช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอดีตและเหตุการณ์ที่พูดถึงนั้นจบสมบูรณ์แล้ว โครงสร้างของประโยคคือ “ S + had + V3 ”  9) Future perfect ใช้เพื่อบอกว่าเหตุการณ์จะจบสมบูรณ์ในช่วงเวลาที่แน่นอนในอนาคต โครงสร้าง คือ “ S + will/shall + have + V3 ”  10) Present perfect continuous ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน โครงสร้าง คือ “ S + has ,have + been + V.ing ”   11) Past perfect continuous ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตซึ่งเกิดก่อนหน้าช่วงเวลาอดีตที่กำลังพูดถึงอยู่และดำเนินต่อเนื่องกันมาถึงช่วงเวลาหนึ่งจึงจบลง โครงสร้างประโยค คือ คือ “ S + had + been + V.ing ”  12) Future perfect continuous  เป็นการเน้นความต่อเนื่องที่จะเกิดในอนาคตเหมือนกัน โครงสร้าง คือ “ S +will/shall +  have + been + V.ing ” จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นคือรูปแบบของประโยคทั้ง 12 แบบซึ่งจะเปลี่ยนรูปไปตามกาลเวลาที่เกิดขึ้นและกล่าวถึงเหตุการณ์นั้นๆ
                จากการศึกษาในห้องเรียน ฉันได้ความรู้ คือ การที่เราจะเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้เข้าใจดียิ่งขึ้นนั้น เราจะต้องเข้าใจในโครงสร้างของประโยค และจะต้องทำความเข้าใจในแต่ละรูปแบบของประโยค จะทำให้เราเข้าใจภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้น ทำให้เราสามารถสื่อสารกับเจ้าของภาษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น


Out class
               ปัจจุบันนักเรียนไทยเรียนในโรงเรียนตั้งแต่เช้าจนถึงตอนเย็น หลังจากนั้นก็ไปเรียนพิเศษกันโดยส่วนใหญ่           ทำให้เกิดการเรียนรู้แบบ เรียนมากรู้น้อย”  เพราะการเรียนการสอนมีการแยกส่วนเด็ดขาดในแต่ละวิชา ครูแต่ละวิชาก็จะพะวงอยู่แต่เนื้อหาที่ตัวเองสอน จัดชั่งโมงการเรียนการสอนอย่างเคร่งครัด สั่งการบ้านให้นักเรียนทำทุกวิชา ทำให้นักเรียนต้องเรียนเยอะ ทำการบ้านเยอะ ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว ดังนั้นจึงมีการเปลี่ยนวิธีการเรียนโดย สอนน้อยรู้มาก
                ปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่ประเทศไทยเท่านั้น แต่ประเทศสิงคโปร์ก็เคยประสบปัญหาเดียวกันมาแล้ว ทำให้กระทรวงศึกษาธิการวางแผนแก้ไขรับมือด้วยวิธีตรงกันข้ามกับปัญหาผ่านการ สอนน้อยรู้มาก” (Teach Less , Learn More) ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่มุ่งเตรียมผู้เรียนให้พร้อมรับมือกับการใช้ชีวิตมากกว่าจะเป็นการเรียนการสอนเพื่อทำข้อสอบ ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่เปลี่ยนจุดสำคัญจาก ปริมาณมาเป็น คุณภาพการสอนที่มีประสิทธิผลต้องมีวิธรการและกลยุทธ์ที่ลดปริมาณการเรียนรู้แบบท่องจำ การทดสอบซ้ำซาก และคำตอบที่มีสูตรตายตัว และมีการเพิ่มการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน โอกาสในการแสดงออก การเรียนรู้ทักษะที่ใช้ได้ตลอดชีวิตและปรับการสอนให้สร้างสรรค์ เพื่อมุ่งสร้างบุคลิกภาพให้เด็ก ครู ผู้บริหารโรงเรียน
                สอนน้อยเรียนมากเป็นแนวคิดที่ปรับวิธีคิดเปลี่ยนวิธีสอนของครูและวิธีเรียนของนักเรียน โดยครูออกแบบการเรียนรู้จากการตั้งคำถามเพื่อให้ผู้เรียนคิดและสืบค้นข้อมูล เรียนรู้กิจกรรมโดยใช้โครงงาน ฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตแล้วให้ผู้เรียนสะท้อนความคิดซึ่งสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ มีการจัดกิจกรรมโดยให้ผู้เรียนทุกคนได้เรียนรู้ร่วมกันซึ่งครูออกแบบการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล เช่น การเรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การเรียนรู้แบบสืบค้น การคิดขั้นสูง การเรียนรู้จากโครงงาน การสะท้อนความคิด เป็นต้น
                ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Teach Less , Learn More ผู้สอนต้องสอนให้น้อยลงแต่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากขึ้น คือผู้สอนต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งบทบาทการสอนของผู้สอนแม้จะน้อยลง แต่บทบาทที่เพิ่มมากขึ้นของผู้สอน คือ ผู้สอนต้องมีการวางแผนและออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน เตรียมสื่อและแหล่งเรียนรู้ และเตรียมคำถามที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด TLLM ผู้สอนต้องคำนึงถึงคำถาม  3 คำถาม ได้แก่ 1.ทำไมต้องสอน 2.สอนอะไร และ 3. สอนอย่างไร
                จากการที่สอนน้อยรู้มากนั้นผู้เรียนจะต้องเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนริเริ่มการเรียนรู้ด้วยตนเอง จนถึงการประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเอง โดยจะดำเนินการด้วยตนเองหรือร่วมมือช่วยเหลือกับผู้อื่น สิ่งที่เป็นตัวกำหนดศักยภาพของการเรียนรู้ด้วยตนเอง คือ ความสามารถและความตั้งใจของบุคคล นั่นคือ ผู้เรียนมีทางเลือกเกี่ยวกับทิศทางที่ต้องการไป แต่สิ่งที่จะต้องมีควบคู่กันไปคือ ความรับผิดชอบและการยอมรับต่อสิ่งที่จะตามมาจากความคิดและการกระทำของตนเอง
                การเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับสอนน้อยรู้มากเนื่องจากว่าการที่รู้มากนั้นจะต้องเกิดจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพราะฉะนั้นการเรียนรู้ด้วยตนเองจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจำทำให้กลายเป็นคนที่ขยันแสวงหาความรู้ใส่ตัวเองและสักวันความรู้ที่ได้มาอาจจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ในยามจำเป็น จึงควรขยันหาความรู้ด้วยตนเองให้มาก การเรียนรู้ด้วยตนเองมีวิธีการที่หลากหลาย ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละบุคคล
                จากการศึกษานอกชั้นเรียน ฉันได้ความรู้ คือ การเรียนที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดคือ การสอนน้อยเรียนมาก ซึ่งเป็นการฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต แล้วให้ผู้เรียนสะท้อนความคิดซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง มีการจัดกิจกรรมโดยให้ผู้เรียนทุกคนได้เรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งครูจะเป็นผู้ออกแบบการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ