วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

อบรม วันที่ 29 ตุลาคม 2558

                                                                                                                  การอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ
                การเริ่มการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะในเช้าวันที่ 29 ตุลาคม 2558 ในช่วงเช้าจะเป็นการอบรมในหัวข้อ Beyond Language Learning และทักษะด้านต่างๆที่ใช้ในการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 โดยมีท่านวิทยากร คือ ดร.สุจินต์  หนูแก้ว อาจารย์สุนทร  บุญแก้ว  และ ผศ.ดร.ประกาศิต  สิทธิ์ธิติกุล
                เริ่มต้นการอบรมเรื่อง 5C คือ
1.                1.Communicative
2.                2.Culture
3.                3.Connect
4.                4.Comparison
5.                5.Community
แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็น 7C คือ
1.                1.Critical thinking – problem solving
2.                2.Creative Innovation
3.                3.Culture – cross culture – understanding
4.                4.Collaboration – team work
5.                5.Communication – information – media literacy
6.                6.Computing  and  ICT  literacy
7.                7.Career – listening skills
โดยในปัจจุบันจะใช้ 5C กันโดยส่วนใหญ่ แต่ในการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 ควรนำ 7C  มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เข้ากับการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ และเพื่อให้ทันสมัยก้าวทันเทคโนโลยีสมัยใหม่ หรือไม่ว่าจะเป็นการสอนวิชาอื่นๆ ก็ควรปรับให้เข้ากับทักษะ 7C เพราะเพื่อที่จะพัฒนาเด็กให้เข้ากับยุคศตวรรษที่ 21
        ต่อมาท่านวิทยากรก็ได้พูดถึงกระบวนการคิดของบลูมส์ และลูกศิษย์ของบลูมส์ โดย
บลูมส์ =  จำ >  เข้าใจ >  นำไปใช้ >  วิเคราะห์ > สังเคราะห์ > ประเมินค่า
ลูกศิษย์ของบลูมส์ =   จำ >  เข้าใจ >  นำไปใช้ >  วิเคราะห์ > ประเมินค่า >  creative
                        จากกระบวนการคิดของบลูมส์และลูกศิษย์ของบลูมส์นั้น จะเห็นได้ว่ามีความต่างกัน คือของบลูมส์เมื่อวิเคราะห์เสร็จ ขั้นตอนต่อไปก็คือ การสังเคราะห์ และต่อมาก็คือ การประเมินค่า ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย แต่ลูกศิษย์ของบลูมส์เมื่อวิเคราะห์เสร็จต่อไปก็จะเป็นขั้นตอนของการประเมินค่าของข้อมูลดิบทั้งหมด หลังจากนั้นก็นำมาสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ และทำให้เกิดการคิดแบบ MI คือ Multiple Intelligence ที่ทำให้เกิดความคิดที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
                หัวข้อต่อมา คอื ทักษะต่างๆในศตวรรษที่ 21 ได้แก่
Critical thinking skills ซึ่งจะเป็นทักษะที่ทำให้เกิดการตัดสินใจที่จะทำสิ่งต่างให้เกิดความคิดมากยิ่งขึ้น และจะเน้นการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ให้เด็กได้คิดวิเคราะห์มากยิ่งขึ้น
Creative thinking เป็นการคิดสร้างสรรค์ คิดเพื่อสร้างสิ่งใหม่ๆ เพื่อพัฒนาสิ่งต่างๆให้ทันสมัย พัฒนาตามเทคโนโลยีสมัยใหม่
Innovative  มีหัวข้อย่อยดังนี้
-                    -  new innovative
-                    -  different innovative
-                     - better innovative
โดยจากหัวข้อด้านบนก็คือ การคิดผลิตนวัตกรรมที่จะใช้ในการสอนให้มีความใหม่กว่าในปัจจุบัน และให้มีคววามต่าง เพื่อพัฒนาสื่อให้มีความน่าสนใจกว่าในอดีต และเมื่อทำให้มีความใหม่และความแตกต่างแล้ว ก็ต้องทำให้ดีกว่า เพื่อจะนำมาใช้ประโยชน์ให้เกิดผลกว่าอดีต เพื่อที่จะก้าวทันเทคโนโลยี และทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆ
จากการที่ดิฉันได้เข้าอบรมในช่วงเช้า ดิฉันได้ความรู้คือ ทักษะต่างๆ ที่นำมาปรับใช้ในการสอนศตวรรษที่ 21 และทักษะต่างๆที่ต้องพัฒนาให้เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21
        การอบรมในภาคบ่าย มีท่านวิทยากร คือ ผศ.ดร.ศิตา เยี่ยมขันติถาวร กล่าวในหัวข้อที่เกียวกับภาษาเพื่อการสื่อสาร ก็จะเกี่ยวกับภาษาและคำศัพท์ต่างๆที่พบได้ในชีวิตประจำวัน แต่ยังมีการใช้คำศัพท์ที่ผิดอยู่มากมาย
                เริ่มต้นด้วยการพูดถึง 10 ภาษาที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก โดยภาษาแรกคือ MANDARIN และภาษาอังกฤษอยู่ในอันดับที่ 4 ซึ่งถ้าเราไม่ได้ดูแผนภาพนี้ก็จะคิดว่าภาษาอังกฤษคืออันดับแรกที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก เพราะภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารกันโดยส่วนมาก
                ต่อมาก็คือการพูดทับศัพท์โดยใช้หัวข้อสนทนา “ พูดทับศัพท์ให้คับข้องใจ ” โดยคำแรกคือ ชิลชิล ในภาษาอังกฤษเราก็จะคิดว่า Chill Chill  และมีการนำมาใช้ดังตัวอย่าง คือ Sit chill chill คำต่อมาคือ gvhkmN คนส่วนใหญ่ใช้แค่ Out ที่แปลว่านอกกระแส และก็นำมาใช้ในรูป You are out. คำต่อมาคือ Over  ล้วก็นำมาพูดว่า She is over. แต่ในคำนี้ประโยคที่ถูกคือ She’s over the top. คำต่อมาคือ แจม Jam และก็นำมาใช้ว่า I will jam you. แต่สิ่งที่ถูกคือ I will join you. และยังมีอีกหลายๆคำลองสังเกตกันดูนะคะว่าเรายังมีการใช้คิดกันในแบบที่ผิดกันอยู่รึเปล่า ถ้ารู้ว่าผิดก็ลองศึกษาแล้วเปลี่ยนมาใช้กันในแบบที่ถูกกันเถอะคะ
                หัวข้อต่อมาก็ได้พูดถึง “ชื่อยี่ห้อ ชื่อแบรนด์ กลุ่มแฟนๆก็ทำให้งง” ซึ่งในความเป็นจริงดิฉันก็คิดว่าที่เรียกๆอยู่มันถูก แต่เมื่อได้ฟังจากท่านวิทยากร ก็รู้เลยว่ายังพูดผิดอยู่ เช่นคำว่า Xerox แต่คำที่ถูกคือ photocopy คำต่อมาก็คือ Fab คำที่ถูกคือ detergent คำต่อมาก็คือ Pampers แต่ในหลักความเป็นจริงคำที่ถูกคือ diaper หรือ nappy และคำสุดท้ายที่เด็กนักเรียน หรือเด็กนักศึกษามักจะรับประทานกันบ่อยๆ คือ Mama  แต่คำที่ถูกคือ instant noodles ดังนั้นเราจึงต้องทำความเข้าใจกันใหม่
                หัวข้อสุดท้ายในการอบรมวันนึ้คือ ปัจจัยที่ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลง
1.                1.ลักษณะเฉพาะบุคคล (Self-actualization) ได้แก่
·         ความสามารถในการสร้างสรรค์ (creativity)
·         การแก้ไขปัญหา (problem solving)
·         ความน่าเชื่อถือ (authenticity)
·         ลักษณะที่เกิดขึ้นเอง (spontaneity)
2.                2.ความนิยม (esteem) ได้แก่
·         ความนิยมหรือความชื่นชอบส่วนบุคคล (self-esteem)
·         ความเชื่อมั่น (confidence)
·         ความสำเร็จ (achievement)
3.                3.ความต้องการทางสังคม (social needs) ได้แก่
·         เพื่อน (friends)
·         ครอบครัว (family)
4.                4.ความปลอดภัย (safety) และความมั่นคง (security)
5.                5.ความต้องการทางกายภาพ ได้แก่
·         อากาศ (air)
·         ที่อยู่อาศัย (shelter)
·         น้ำ (water)
·         อาหาร (food)
จากการที่ได้ฟังอบรมในวันนี้ ดิฉันได้ความรู้คือ การใช้ภาษาในการสื่อสาร โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่คำศัพท์ที่ใช้กันมาผิดๆในชีวิตประจำวัน คำที่พูดกันติดปาก ชื่อแบรนด์ และปัจจัยที่ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น