วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log 9

 In class
                วันที่ 20 ตุลาคม 2558 ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับการลดรูปของ adverb clause ซึ่ง adverb clause คือ อนุประโยคที่ขยายกริยาและมีคำบ่งบอกเวลาที่ใช้เป็นคำเชื่อม ได้แก่ after, before, once, until, when, while, as soon as และ since ซึ่งในรูปแบบประโยคของ adverb clause นั้น สามารถลดรูปได้
                จากที่ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับ adverb clause นั้น ก็ทำให้รู้ว่าสามารถลดรูปได้ ซึ่งจากที่ดิฉันได้อ่าน และทำความเข้าใจ จึงได้รู้ว่ามีการลดรูปได้ดังนี้
แบบที่ 1 : ถ้าประธานในอนุประโยคหลัก และประธานใน adverb clause ได้อ้างถึงคนหรือสิ่งของสิ่งเดียวกัน เราก็สามารถตัดประธานใน adverb clauseได้เลย และทำกริยาที่ตามหลังประธานใน adverb clause ให้เป็น V.ing เช่น
The seed is own before it is watered.
ซึ่ง it ในที่นี้หมายถึง the seed
- The seed is own before being watered.
แบบที่ 2  : ถ้าประธานในอนุประโยคหลักและประธานใน adverb clause ใช้สรรพนามเหมือนกัน และหมายถึงสิ่งเดียวกัน เราสามารถตัดสรรพนามตัวที่อยู่ใน adverb clauseได้ และทำกริยาให้เป็น V.ing เช่น
- I learnt  a lot of English while l was in secondary school.
ซึ่ง I ในอนุประโยคหลักและ adverb clauseหมายถึงประธานคนเดียวกัน
- While being in secondary school , I learnt a lot of English.
แบบที่ 3 : ถ้าประธานในอนุประโยคหลักเป็นคำนาม และประธานใน adverb clause ใช้คำสรรพนาม และประธานทั้งสองตัวนั้นเป็นสิ่งเดียวกัน เราก็สามารถตัดประธานใน adverb clause ได้เลย และทำกริยาให้เป็น V.ing เช่น
- The water becomes hot after it is heated.
(The water และ it คือ สิ่งเดียวกัน)
- The water becomes hot after being heated.
แบบที่ 4 : adverb clause ประกอบไปด้วยประธานที่เป็นคำนามทั่วไป เช่น you, we, people, scientist, nurses เป็นต้น สามารถลดรูปได้ เช่น
- Before you take a bedpan to a patient , it should be clean.
- Before taking a bedpan to a patient , it should be clean.
แต่ก็มีประโยคบางประเภทที่ไม่สามารถลดรูปได้ คือ ถ้าประธานในอนุประโยคหลัก และ adverb clause ไม่ได้หมายถึงสิ่งเดียวกัน หรือคนเดียวกัน เราไม่สามารถลดรูปได้ เช่น
- After Sara came, Kim left.
Sara และ Kim ไม่ใช่คนๆเดียวกัน
                สิ่งที่ควรจำ คือ ถ้าประธานใน adverb clause คือ คำนาม และประธานในอนุประโยคหลัก คือ คำสรรพนาม ที่อ้างถึงคำนามนั้น ต้องสลับประธานของทั้งสองอนุประโยคก่อนที่จะลดประธานในอนุประโยค adverb clause เช่น
- After water is heated , it becomes hot.
- After it is heated , water becomes hot.
After being heated , water becomes hot.
                การลดรูปของ adverb clause สามารถแยกออกได้เป็น 4 ประเภท โดยสามารถทำได้ง่ายๆโดยดูจากตัวเชื่อมในแต่ละแบบ ดังนี้
1. After, before, since
กฎ
A) ละประธานใน adverb clause ซึ่งต้องอ้างถึงคนๆเดียวหรือสิ่งของสิ่งเดียวกับประธานในอนุประโยคหลัก
B) ละกริยาช่วยทั้งหมดใน adverb clause และเปลี่ยนกริยาที่เหลืออยู่ ให้เป็น V.ing ถ้ากริยาใน adverb clause เป็นผู้กระทำ เช่นกรณีดังนี้ ถ้ากริยาใน adverb clause เป็นรูปประโยคในแบบ present หรือ past perfect tense ดังนั้น คำกริยาช่วยที่เป็น have, has หรือ had อาจจะเปลี่ยนเป็น having และตามด้วย past participle และถ้าคำกริยาใน adverb clause เป็นผู้ถูกกระทำ ก็จะเป็น being + past participle
C) สรุปโดยรวมได้ว่า adverb clause ที่ขึ้นต้นด้วย after, before, since ถูกลดรูป ซึ่งจะต้องขึ้นต้นด้วย V.ing ไม่ว่าจะเป็นผู้กระทำ  หรือผู้ถูกกระทำ เช่น
-After he finished high school, he continued his studies for bachelor degree.
-After he finishing high school, he continued his studies for bachelor degree.
ข้อควรระวัง
1. After , before และ since สามารถตามด้วย V.ing เท่านั้น ทั้ง active และ passive มันไม่สามารถตามด้วย V.ed ได้ เช่น
  - The seed is sown before it is watered.
  - The seed is sown before being watered.
2. Prior to สามารถใช้แทน before ในการลดรูปทางด้านงานเขียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
3. Once และ until
                Once และ until จะตามด้วย V.ed โดยเฉพาะคำกิริยาที่อยู่ในอนุประโยคกริยาวิเศษณ์ ซึ่งจะอยู่ในรูปของผู้ถูกกระทำที่ถูกลดรูป ซึ่งมันจะลดรูปแบบไม่ปกติถ้าอยู่ในรูปผู้ถูกกระทำ
                จากการที่ดิฉันได้ศึกษาในห้องเรียน ดิฉันได้ความรู้คือ abverb clauses นั้นสามารถลดรูปได้โดยดูง่ายๆจากตัวเชื่อมคือ before, after, since, when, while, once, until, as soon as เป็นต้น ถ้าประโยคที่ตามด้วยคำเชื่อมเหล่านั้นคือ อนุประโยคกริยาวิเศษณ์ และอีกอนุประโยคคือประโยคหลัก หลักการลดง่ายๆคือ ถ้าประธานในอนุประโยคทั้งสองคือสิ่งเดียวกัน เราก็สามารถละประธานในอนุประโยคกริยาวิเศษณ์ได้เลยและถ้าหากว่ามีกริยาช่วยก็ให้ละเช่นกันและทำกริยาที่เหลืออยู่ให้เป็น V.ing



Out class
           เรียนภาษาอังกฤษให้ได้ผล ต้องฟัง พูด อ่าน เขียนได้ หรือสื่อสารกับชาวต่างชาติได้แค่นั้นก็พอ แกรมมาหรืออะไรที่ถูกใส่หัวเพื่อท่องสอบ แต่กลับไม่จำเป็นเลย ถึงแม้ว่าสิ่งที่พูดมาไม่ผิด แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า จะใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ ทุกอย่างมันต้องไปด้วยกัน บางคนสำเนียงดีมาก แต่ไวยากรณ์ผิดหมด บางคนแม่นไวยากรณ์มาก แต่พูดและฟังไม่ได้เลย ในขณะที่บางคนใช้ภาษาได้เป๊ะทุกด้าน ดังนั้นจึงควรหาเทคนิคในการเรียนเพื่อทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
5 เทคนิคเก่ง grammar
- พื้นฐานาง่ายต้องแม่น
             ภาษาอังกฤษก็เหมือนภาษาไทย ที่จำเป็นต้องรู้พื้นฐานก่อน คำนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ กริยา 3 ช่อง พื้นฐานพวกนี้ถือว่าจำเป็นมากๆ สำหรับการเรียนแกรมมาเลยก็ว่าได้ เพราะต้องใช้ต่อยอดแกรมมาเรื่องอื่น จะเรียนเรื่อง tense แต่ละ tense ก็ใช้ verb คนละช่อง ก็ต้องเลือกใช้ให้ถูก
- กฎเหล็ก ข้อยกเว้น ต้องจำได้
              หลายคนตกม้าตายเรื่องข้อยกเว้น แกรมมาเป็นเรื่องของหลักภาษาที่ค่อนข้างซับซ้อน กำหนดมาเป็นอย่างดีว่าต้องใช้แบบนี้ๆ แต่สุดท้ายก็จะมีข้อยกเว้นแปะท้าย ยกตัวอย่างง่าย เช่น การเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์ เรียนกันมาว่าให้เติม s,es ถ้าลงท้ายด้วย o ให้เติม es ได้เลย แต่ก็มีข้อยกเว้น เช่น photo สามารถใช้ photos ได้เลย ไม่ใช่ photoes เป็นต้น
- มีตัวอย่างเสริม
              แกรมมาภาษาอังกฤษมีเยอะพอๆกับหลักภาษาไทย จะให้ท่องจำแต่หลักหรือโครงสร้างก็น่าเบื่อเกินไป ลองหาตัวอย่างประโยคของหลักนั้นๆเป็นโมเดลประโยค ท่องจำจะได้ง่ายขึ้น ประมาณว่านึกถึงโครงสร้างนี้ ท่องประโยคนี้ขึ้นมา ก็จะรู้ได้ว่าโครงสร้างมันเป็นยังไง ก็เหมือนกับเราท่องเสียงลือเสียงเล่าอ้าง เป็นต้น
- อ่านเองไม่รู้เรื่อง ต้องเข้าใจตั้งแต่ในห้องเรียน
              ถ้ารู้ตัวว่าเรียนรู้อะไรช้า ยิ่งเป็นแกรมมายากๆอ่านเองไม่เข้าใจ ก็ควรตั้งใจเรียนตั้งแต่ในห้องเรียน เพราะอาจารย์แต่ละคนจะมีเทคนิคการจำแตกต่างกัน ฟังให้เข้าใจตั้งแต่ในคาบและจดเทคนิคการจำไว้ด้วย กลับมาอ่านเองทีหลังจะได้ง่ายขึ้น
- อัพเกรดอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ
              วิธีนี้ถือว่าได้ประโยชน์ระยะยาว หัดอ่านหนังสือเรื่องสั้น นิยาย หนังสือพิมพ์ที่เป็นภาษาอังกฤษ หรืออ่านข่าวจากเว็บไซต์จากต่างประเทศก็ได้ สื่อพวกนี้เราได้ทั้งคำศัพท์แปลกๆใหม่ๆ ยังได้เรียนรู้แกรมมาด้วย
5 เทคนิคเก่งvocabulary
- มองทุกอย่างเป็นศัพท์ภาษาอังกฤษ
             ทางลัดอย่างหนึ่งของการรู้คำศัพท์เยอะ คือ การทบทวนบ่อยๆ แต่บางคนไม่มีเวลามานั่งท่องศัพท์ตลอดเวลา แถมยังไม่มีแรงกระตุ้น ลองใช้วิธีนี้ดู คือ มองทุกอย่างให้เป็นภาษาอังกฤษ เช่น เดินไปตลาด ซื้อของตามทางก็นึกเป็นศัพท์ภาษาอังกฤษ อันไหนไม่ได้ก็จำไว้แล้วกลับมาเปิดดิกชันนารีที่บ้าน
- หาคำควบคู่ หรือตรงข้ามไว้ด้วย
              เป็นการเรียนรู้ศัพท์แบบก้าวกระโดด คือ รู้ศัพท์คำหนึ่งแล้วให้หาคำศัพท์ที่ความหมายเหมือนกัน และตรงข้ามกันมากองเป็นกลุ่มคำไว้ เวลาท่องจำทีหนึ่งจะได้ไปพร้อมๆกันทีเดียว เราก็ได้ศัพท์มากขึ้นในเวลาที่น้อยลง
- Crossword puzzle
             เป็นเกมส์ที่หลายคนคงเคยเล่น แต่เล่นเป็นภาษาไทย เกมนี้วัดึวามรู้คำศัพท์อย่างแท้จริง ลักษณะเกม คือ เป็นตารางคำศัพท์ มีช่องตามพยัญชนะของคำต่อกันหลายๆคำ แล้วเราก็มาอ่านคำอธิบายด้านล่าง จากคำอธิบายต้องนึกให้ออกว่าเป็นคำว่าอะไร ฝึกเกมนี้บ่อยๆ ได้ฝึกทั้งเรื่องคำศัพท์ และแปลความด้วย
- เตรียมสมุดจดศัพท์ให้คุ้นเคย
              เตรียมสมุดจดศัพท์เพิ่มในกระเป๋าอีกชิ้นคงจะไม่หนักมาก เอาไว้จดคำศัพท์ที่ไปเจอมาแล้วไม่รู้ความหมาย เพื่อที่ว่ากลับมาบ้านมาก็หาความรู้เพิ่ม จดทุกวันๆ สมุดเล่มนี้ก็จะเหมือนคัมภีร์คำศัพท์ที่คัดมาแล้วว่าเราเจอในชีวิตประจำวันจริงๆ
- ฝึกสร้างประโยคจากศัพท์
              คล้ายกับเทคนิคเรียนแกรมมาแต่เพิ่มทักษะการเขียนอีกนิดนึง น้องๆสามารถหาตัวอย่างประโยคแกรมมาจากหนังสือเรียนได้ แต่การสร้างประโยคจากคำศัพท์ แนะนำให้ฝึกแต่งประโยคขึ้นมาเอง
5 เทคนิค conversation & speaking
- อย่ากลัวพูดผิด
              ความกลัวทำให้เราไม่กล้า และการที่เราพูดผิดก็ไม่ได้ทำให้โลกแตก ดีไม่ดีคู่สนทนาอาจจะอยากช่วยเหลือเราก็ได้ ก็เหมือนกับฝรั่งมาพูดภาษาไทยแบบผิดๆถูกๆ ฟังดูน่ารักกรุ้มกริ่ม อยากให้ความช่วยเหลือ ซึ่งฝรั่งหลายคนเรียนรู้ภาษาที่สามได้เร็วมาก เพราะมีความกล้า
- หาตัวช่วยฝึกออกเสียง
              สำเนียงการพูดอาจจะไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ถ้าสำเนียงเป๊ะ ก็เป็นประโยชน์ต่อการสื่อสารเราและคู่สนทนาก็ฟังกันเข้าใจมากขึ้น เพราะบางครั้งไม่ใช่สำเนียงที่ฟังยาก แต่การออกเสียงคำอาจจะผิดด้วย ดังนั้นต้องหาตัวช่วยเพื่อการออกเสียงที่ดี เช่น talking dictionary หรือตะเปิดดิกบนเว็บแล้วกดรูปลำโพง เพื่อฟังเสียง หรือทางลัดสุดคือ หาเพื่อนชาวต่างชาติมาคุยด้วยซะเลย จะได้ฝึกอย่างเต็มที่ ไม่ต้องอายเวลาออกเสียง
- อย่านึกเป็นภาษาไทย
              เราคงเคยได้ยินคำว่า ฝึกคิดแบบฝรั่งจะได้พูดแบบฝรั่ง อันนี้คือเรื่องจริง เพราะการที่เราคิดเป็นภาษาไทย ทำให้เรายึดติดกับไวยากรณ์ภาษาไทย นั่งคิดศัพท์ที่ตรงกับภาษาไทยเป๊ะ ทำให้ช้า และสำนวนที่ออกมาจะดูฝืนๆ
- ก่อนพูดต้องฝึกฟังด้วย
              แม้เราจะฝึกพูด แต่เราก็อย่าลืมให้ความสำคัญกับการฟัง การฟังไม่ว่าจะเป็นจากคนที่เราคุยด้วย หรือการดูตามสื่อต่างๆ จะช่วยให้รู้จังหวะการพูด การเลือกใช้คำพูดตามสถานการณ์ และที่สำคัญ ถ้าสนทนากับคนอื่นจริงๆ การฟังจะช่วยให้เราคุยกันถูกเรื่อง ไม่ใช่สักแต่ว่าพูด พูดกันคนละเรื่องก็จะพูด จะทำให้คู่สนทนาเบื่อ
- ดูหนังฝรั่งที่บ้าน ฝึกพูดตาม
              วิธีนี้เบสิคและน่าทำตามที่สุด และสามารถฝึกตนเดียวได้ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการฝึกพูดจริงๆ เลือกซื้อซีดีหนัง soundtrack แนวที่เราชอบดู แรกๆ เปิดดูแบบมีซับไตเติ้ลไปก่อน รอบสองรอบสามก็ฟังแบบไม่มีซับและฝึกพูดตามเสียงที่ได้ยิน เพราะเมื่อต้องการฝึกภาษาจริงๆ เราสามารถกด pause เพื่อฝึกพูดตามได้

               จากการศึกษานอกห้องเรียน ฉันได้ความรู้ คือ วิธีการไม่สำคัญเท่าความพยายาม แต่ถ้ามีวิธีการที่ดี + ความพยายามที่มากพอ เชื่อว่ามันจะออกมาดีมากๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น