วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

อบรม วันที่ 30 ตุลาคม 2558

                เริ่มอบรมในเช้าวันที่ 30 ตุลาคม 2558 อบรมโดยท่านวิทยากร ผศ.ดร. ศิตา  เยี่ยมขันติถาวร โดยในช่วงเช้าจะเป็นการพูดเกี่ยวกับวิธีการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 โดยจะกล่าวตั้งแต่การเรียนการสอนภาษาอังกฤษตั้งแต่อดีต และการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 และท้ายสุดคือกลวิธีการเรียนการสอนภาษาในปัจจุบัน
                เริ่มด้วยการพูดถึงวิธีการสอนแบบไวยากรณ์และการแปล จะเป็นวิธีการสอนที่ไม่เน้นการฟังและการพูด แต่เน้นแบบทฤษฎีมากกว่า เพื่อที่จะให้ผู้เรียนอ่านตำราต่างๆได้ และในการสอนแบบนี้ก็เพื่อที่จะให้ผู้เรียนอ่านบทความต่างๆของต่างประเทศได้ การเรียนการสอนแบบนี้จะเน้นการท่องจำและความถูกต้องในการใช้ภาษาโดยส่วนใหญ่
                ต่อมาก็คือวิธีสอนแบบตรง โดยใช้แนวคิดที่ว่า “ภาษา” คือ ภาษาพูด “การเรียนภาษา” คือ การที่ผู้เรียนได้สื่อสารด้วยภาษาที่เรียน และการที่ผู้เรียนได้นำภาษาที่เรียนไปใช้ได้ จึงถือว่าประสบความสำเร็จในการเรียนภาษา โดยเริ่มจากการสอนระบบเสียง  โดยฝึกเลียยนแบบและแยกเสียงให้ถูกต้อง ต่อมาก็ให้ฝึกฟังความหมายในประโยค
                วิธีสอนแบบฟัง-พูด ในการเรียนการสอนแบบภาษาคววรเริ่มจากการฟัง-พูด เพราะเป็นการจะเป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การอ่านและเขียน ดังนั้นจึงต้องเป็นภาษาที่เจ้าของภาษาใช้พูดกันในชีวิตประจำวัน ดังนั้นจึงต้องเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา เริ่มต้นด้วยภาษาพูด โดยยังไม่เน้นรูปแบบของภาษาก่อน ผู้เรียนต้องเลียนแบบเสียงของผู้สอนจนฟังเข้าใจ เน้นการท่องจำบทสนทนา แล้วจึงเริ่มฝึกอ่านและเขียน
                วิธีสอนตามแนวธรรมชาติ เป็นการรับรู้ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยที่ไม่มีใครสอน โดยวิธีการสอนแบบนี้เป็นการพัฒนาทักษะทางภาษา เพื่อการสื่อสารกับเจ้าของภาษา และยังคงให้ความสำคัญของความถูกต้องในการใช้ไวยากรณ์ และวิธีการสอนแบบนี้จะเน้นการแก้โดยจะแก้ไขไปเรื่อยๆ และในระยะยาวผู้เรียนก็จะนำไปใช้ได้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
                วิธีสอนแบบชักชวน เป็นวิธีการสอนที่ต้องใช้เวลา ผู้สอนควรโน้มน้าวให้ผู้เรียนได้ใช้พลังสมองของตนเองอย่างเต็มที่ ควรให้ผู้เรียนได้เรียนด้วยความสนุกสนาน เน้นกิจกรรมที่เน้นการสื่อสาร เช่น ให้นักเรียนพูดเมื่อนักเรียนอยากพูด ให้นักเรียนพูดเมื่อนักเรียนพร้อม โดยเน้นสภาพแวดล้อมที่เป็นจริงในการใช้ภาษา เช่น การแสดงละคร  การฟังบทสนทนาโดยมีดนตรีเบาๆประกอบเพื่อเป็นการผ่อนคลาย ลดความตึงเครียดในการเรียนภาษาของนักเรียน
                การเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นการแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานร่วมกัน เน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นประชาธิปไตย สามารถคิดแก้ปัญหาได้ สามารถคิดวิเคราะห์ได้
                การเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ใช้ภาระงานเป็นหลัก โดยที่ผู้เรียนจะต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอน โดภาระงานที่นำมาให้ผู้เรียนทำนั้น จะต้องเหมาะกับผู้เรียน ต้องพิจารณาความยากง่าย เพื่อเป็นภาระงานที่ทำให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดมุ่งหมาย และตรงกับความต้องการของผู้เรียน
                การสอนที่เน้นสาระการเรียนรู้ จุดมุ่งหมายคือ บูรณาการเนื้อหาสาระให้เข้ากับการสอนภาษา คือผู้เรียนจะต้องใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ และเนื้อหาที่นำมาให้ผู้เรียนได้เรียน จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเนื้อหาที่เลือกมาต้องเอื้อต่อการบูรณาการการสอนภาษาทั้ง 4 ทักษะ คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน

                จากการอบรมในช่วงเช้า ดิฉันได้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆใรศตวรรษที่ 21
ในการอบรมช่วงบ่าย ได้อบรมโดยท่าววิทยากร ผศ.ดร.ศิตา  เยี่ยมขันติถาวร โดยได้อบรมเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมในห้องเรียนจากเกมส์ เพลง การเล่านิทาน
                ในช่วงแรกท่านวิทยากรได้เริ่มต้นอบรมโดยการจัดกิจกรรมในห้องเรียนจากการร้องเพลง เป็นเพลงสั้นๆ จำได้ง่าย เป็นคำคล้องจอง พร้อมท่าทางประกอบ เช่น เพลง Tic Tac Toe โดยเพลงมีท่าทางประกอบ ในการเล่นเกมนี้ต้องเล่นแบบพอดี ไม่เล่นนานเกินไป เพราะจะทำให้เด็กเบื่อ และไม่อยากเล่นในครั้งต่อไปอีก
                จากการอบรมในช่วงบ่าย ฉันได้ความรู้คือ การจัดกิจกรรมในห้องเรียนโดยนำเกมส์ เพลง และนิทานมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อที่จะลดความตึงเครียดในห้องเรียน และเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น