วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log 8

in class
                ในการสนทนาในชีวิตประจำวัน เราอาจได้ยินหรือใช้ noun clauses โดยที่ไม่รู้ตัวว่ากำลังใช้ noun clause อยู่ เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะมาศึกษาเกี่ยวกับ noun clauses ว่ามีลักษณะหน้าตาของประโยคเป็นอย่างไร และมีวิธีการใช้อย่างไร ซึ่งการใช้ noun clauses อย่างถูกต้องถือเป็นเรื่องสำคัญมากโดยเฉพาะในส่วนของ writing และ speaking ดังนั้นเรามาศึกษาวิธีการใช้ noun clauses อย่างถูกวิธีกันดีกว่า เพื่อจะทำให้เวลาที่เราพบเจอได้เข้าใจ หรือเขียนได้ถูกต้อง
                Noun clauses หมายถึง อนุประโยคที่ทำหน้าที่เหมือนกับคำนามคำหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นประธานหรือกรรมก็ได้ เช่น
  Subject Noun Clauses (ส่วนที่เป็นประธาน)
   - That scores are going down is clear.
     ที่ว่าคะแนนลดลงเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจน
   - What he said confused us terribly.
     สิ่งที่เขาพูดทำให้เราสับสนมาก
  Object Noun Clauses (ส่วนที่เป็นกรรม)
   - I feel that you overestimated the damages.
     ผมรู้สึกว่าคุณประมาณการความเสียหายเกินความเป็นจริง
   - I don’t know where she is.
     ผมไม่รู้ว่าเธออยู่ที่ไหน
                Noun clauses จะต้องคู่กับ Main Clauses ของประโยคเสมอ โดยจะขึ้นต้นด้วย noun clauses  หรือ main clauses ก็ได้ขึ้นอยู่กับหน้าที่ของ noun clauses ซึ่ง noun clauses มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่
1. Noun clauses ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า  “if” หรือ “whether
2. Noun clauses ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “Wh-question
3. Noun clauses ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “that
                Noun clauses ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “if” หรือ “whether” มี 2 แบบ คือ ใช้ Verb to be และ Verb to do
                1.) Verb to be
                Ex. Is she a student ?
                - I wonder if she is a student.
                - If she is a student is not clear
                2.) Verb to do
                Ex. Did he pass an exam ?
                - I don’t know if he pass an exam.
                - If he passed an exam is not sure
                Noun clauses ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า Wh-question ได้แก่ what,where,when,which,who,how,whose,why
Ex. - When I’m married to is uncertain.
       - I don’t understand why I failed translation subject.
       - How I travel to Bangkok is clear.
       - What I love most is my mother.
                Noun clauses ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า that แปลว่า ว่า ที่ทำหน้าที่เป็น obj. แต่ ที่ว่าจะแปลในขณะที่ทำหน้าที่เป็น Subject
Ex. - I think that I am smart.
       - That I am smart is not true.
                ซึ่งในการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้นเราต้องเกิดจากการฝึกฝนด้วยตนเองมีวิธีการดังนี้
       - Input hypothesis
       - Output hypothesis
       - Interaction hypothesis
ซึ่งทั้งสามขั้นนี้ต้องเกิดความร่วมมือจากครูและนักเรียนโดยมีรูปแบบดังนี้
       - ครู เด็ก (teacher to learner)
       - เด็ก  ครู (learner to teacher)
       - เด็ก  เด็ก (learner to learner)

                จากการเรียนรู้ในห้องเรียน ฉันได้ความรู้ คือ การเรียนการสอนจะให้เกิดผลดีนั้นต้องเกิดจากการเรียนการสอนที่ดีโดยเกิดจาก teacher to learner จากนั้นก็จะเกิดขึ้นโดย learner to teacher และในขั้นตอนสุดท้ายที่สำคัญคือ learner to learner ซึ่งจะทำให้รู้ว่านักเรียนมีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด หลังจากเรียนในห้องเรียนเสร็จแล้วนั้นผู้เรียนจะต้องกลับไปทบทวนบทเรียนเพื่อที่จะทำให้การเรียนครั้งนั้นประสบความสำเร็จ
(out class)
                ปัจจุบันนี้ภาษาอังกฤษ เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้น การที่เราสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ย่อมทำให้ได้เปรียบคนอื่นๆ วันนี้เรามาแนะนำกับ10 วิธีการฝึกภาษาอังกฤษด้วยตนเอง ซึ่งคิดว่าไม่น่าจะยากเกินไปสำหรับใครไม่รู้จะฝึก เรียนภาษาอังกฤษอย่างไรให้เข้าใจ
                ตามอ่านอะไรที่เราสนใจ ตอนเด็กๆหลายคนอาจจะไม่ชอบภาษอังกฤษ เพราะโดนครูบังคับให้อ่านเรื่องอะไรก็ไม่รู้ แต่ลองเริ่มอ่านเรื่องที่เราสนใจ ไม่ว่าจะเป็น การ์ตูน กีฬา ดนตรี ข่าวซุบดาราฝรั่งหรือมุมขำๆ ในหนังสือพิมพ์ จำไว้เลยว่าไม่มีอะไรไร้สาระ เพราะเรากำลังเรียนรู้อยู่
                ฟังวิทยุให้ชิน การฟังวิทยุนั้นจะช่วยให้เราได้ฟังทั้งเสียงคนพูดรวมถึงเสียงร้องเพลง เป็นการฝึกหูให้ชินกับภาษาในหลายๆรูปแบบอีกวิธีหนึ่งด้วย ซึ่งเป็นการช่วยให้เราได้สัมผัสถึงน้ำเสียงจริงๆ ฝึกฟังบ่อยๆ จนทำให้เราชินกับสำเนียงของเจ้าของภาษาอย่างแท้จริง
                ไม่จำเป็นต้องแปลเป็นภาษาไทย การฝึกภาษาอังกฤษให้เข้าใจนั้น ไม่จำเป็นที่เราต้องอ่านหรือฟังแล้วแปลเป็นภาษาไทย อาจจะสงสัยว่าไม่แปลเป็นภาษาไทยแล้วจะเข้าใจยังไง การไม่พยายามแปลเป็นไทยจะช่วยให้เราสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วขึ้นด้วย
                ดูทีวีและภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ การดูภาพ ฟังเสียง และอ่านซับไตเติ้ลภาษาไทยไปพร้อมๆกันช่วยฝึกประสาทการรับรู้ในหลายๆช่องทาง ซึ่งต่อไปก็สามารถเปลี่ยนจากซับไทยเป็นซับอังกฤษ ไปจนถึงขั้นปิดซับได้ในที่เรา เพราะทำให้เราเกิดความเข้าใจได้ดีมากยิ่งขึ้น
                เล่นเกมส์ที่ใช้คำภาษาอังกฤษบ่อยๆ สมัยนี้มีเทคโนโลยีสมาร์ทโฟน เราจึงสามารถหาแอพพลิเคชั่นเกมภาษาอังกฤษ เช่น Crosswords มาเล่นแก้เบื่อในยามว่างได้ และอาจจะมีเกมภาษาอังกฤษที่หลากหลายอีกเยอะที่จะช่วยให้เราฝึกทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ ทีนี้ก็ลองเปลี่ยนจากแชทไลน์มาเป็นเล่นเกมแนวนี้แทน เพื่อที่จะเป็นการช่วยพัฒนาได้อีกทาง
                ใช้คำต่างๆเป็นภาษาอังกฤษมากขึ้น วิธีนี้หลายคนอาจมองว่ากระแดะหรือเปล่า จริงๆแล้วเป็นเพียงการใช้คำให้ถูกกับภาษาอังกฤษมากขึ้น โดยพยายามพูดอังกฤษบ่อยๆ ในศัพท์ที่ใช้ได้ เช่น เปลี่ยนคำว่า มือถือ เป็น Smart Phone เปลี่ยนคำว่า นาฬิกาปลุก เป็น Alarm เป็นต้น
                ทำลิสต์ต่างๆให้เป็นภาษาอังกฤษ ขั้นตอนนี้อาจจะลำบากในตอนแรก แต่ถ้าเราลองทำลิสต์ต่างๆให้เป็นภาษาอังกฤษ จะช่วยเราให้คุ้นเคยได้มากขึ้น อย่างเช่น ลิสต์กิจกรรมที่ต้องทำพรุ่งนี้ ลิสต์ตารางเที่ยวพักผ่อน หรือลิสต์ของที่ต้องซื้อเข้าบ้านให้เป็นภาษาอังกฤษ
                เราชอบอะไร ทำสิ่งนั้นเป็นภาษาอังกฤษ ความชอบ ความรัก มันทำให้เราสามารถทำอะไรได้อย่างมีความสุขและไม่น่าเบื่อและถ้าชอบทำอาหารก็เปลี่ยนเมนูอาหารเป็นภาษาอังกฤษ ถ้าชอบเล่นกีฬาหรือดนตรี ก็ดาวน์โหลดวิดีโอที่มีการฝึกซ้อมแบบภาษาอังกฤษมาดู ถ้าชอบเล่นเกมก็ฝึกอ่านคู่มือเกมภาษาอังกฤษ เราจะหลงรักมันโดยไม่รู้ตัว
                เทคนิคการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
                จำศัพท์เป็นกลุ่ม วิธีที่จะจำศัพท์ได้ง่าย เราควรจะต้องจะเป็นกลุ่มคำที่มีความหมายเหมือนกันและกลุ่มที่มีความหมายตรงกันข้ามกัน
                จำศัพท์และวาดภาพคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกัน ถ้าคุณสามารถวาดภาพของคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกันออกมาเป็นแผนผังหรือจัดหมวดหมู่ ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันระหว่างศัพท์เหล่านั้น แล้วเขียนออกมาเป็นแผนผัง จะทำให้เราจำศัพท์ได้ง่ายขึ้น
                ใช้อุปกรณ์ช่วย เราอาจทำบัตรคำศัพท์ภาษาอังกฤษ พร้อมความหมายและตัวอย่างประโยคแล้วนำ มาเปิดอ่านหรือท่องในยามว่างและเพิ่มศัพท์เหล่านั้นทุกสัปดาห์ เราก็จะมีคลังคำศัพท์ที่สามารถนำไปใช้ได้
                สร้างจุดเด่นของลักษณะคำศัพท์กลุ่มนั้น เช่น เมื่อกำหนดกลุ่มคำศัพท์ได้แล้วว่ากลุ่มที่หนึ่งคือกลุ่มคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน เราก็กำหนดให้กลุ่มนั้นเป็นสีฟ้า (คำศัพท์เหล่านั้นก็จะใช้ปากกาเน้นข้อความสีฟ้า เน้นทับไปที่กลุ่มคำเหล่านั้น) กลุ่มที่สองคือ กลุ่มคำที่เกี่ยวข้องอวัยวะหรือส่วนต่างๆในร่างกาย คุณก็กำหนดให้กลุ่มนั้นมีสีเหลือง (คำศัพท์เหล่านั้นก็จะใช้ปากกาเน้นข้อความสีเหลือง เน้นทับไปที่กลุ่มคำเหล่านั้น) เป็นต้น ซึ่งสีที่แตกต่างกัน จะทำให้จำศัพท์เหล่านั้นได้ง่ายขึ้น
                ตั้งเป้าหมายอย่างง่ายๆแต่ทำอย่างสม่ำเสมอ คือการตั้งเป้าหมายว่า จะต้องเปิดคำศัพท์เหล่านั้นทบทวนสัปดาห์ละ 3 ครั้ง และตั้งเป้าหมายว่าจะเพิ่มคำศัพท์ 15-20 คำศัพท์ต่อสัปดาห์อย่างสม่ำเสมอ ข้อสำคัญคือ ต้องจำคำศัพท์พร้อมกับประโยคที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น คำศัพท์เดิมต้องรักษาไว้ อย่าให้ลืมและต้องเพิ่มคำศัพท์ให้ได้อย่างสม่ำเสมอ แล้วจะพบว่าเราสามารถพัฒนาการจำคำศัพท์ได้เพิ่มขึ้นและแม่นยำ
                จากการศึกษานอกห้องเรียน ฉันได้ความรู้คือ ถ้าเราลองเปลี่ยนภาษาในการทำกิจกรรมต่างๆจากภาษาไทย เป็นภาษาอังกฤษ เราอาจจะหลงรักภาษาอังกฤษโดยไม่รู้ตัว
                การเขียนในรูปแบบต่างๆ ในภาษาไทยดูยุ่งยากอยู่แล้ว แต่ตอนนี้หากเราต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษนั้นดูยากขึ้นไปอีก เพราะในบางทีเราอาจจะไม่แม่นในเรื่องของคำศัพท์ คลังคำศัพท์อาจจะน้อยหรือไม่เพียงพอในการเขียน การสะกดคำผิด การอ่าน ไวยากรณ์ และสุดท้าย คือ การเขียน ดังนั้นเราจึงต้องหาวิธีที่จะทำให้เราพัฒนาตนเองในด้านภาษาอังกฤษให้ดีขึ้น
                5 วิธีเพื่อพัฒนาการเขียนภาษาอังกฤษ
                1. เพิ่มคลังศัพท์ เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการเขียน สิ่งที่เราจำเป็นต้องรู้ คือ คำศัพท์ และต้องรู้เยอะๆ การเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ให้พยายามหา synonym หรือคำที่มีความหมายเหมือนกัน และ antonym หรือคำที่มีความหมายตรงข้ามอย่างละคำด้วย
                2. พัฒนาการสะกดคำของเรา เราจำเป็นต้องสะกดคำให้ถูกต้อง การสะกดคำผิดๆ จะเปลี่ยนความหมายของประโยคที่เราเขียนไปคนละเรื่อง เช่น bare และ bear สองคำนี้ออกเสียงเหมือนกัน แต่ bare แปลว่า เปล่า , เปลือย ส่วน bear แปลว่า หมี แล้วสะกดคำผิดๆก็ยังทำให้ผู้อ่านประสบปัญหาในการทำความเข้าใจเรื่องที่เราเขียนออกไป
                3. พัฒนาการอ่าน การอ่านภาษาอังกฤษเยอะๆ มีประโยชน์เสมอ เพราะจะช่วยให้เราได้ไอเดียเกี่ยวกับสไตล์การเขียนที่แตกต่าง และได้เรียนรู้การใช้คำที่เหมาะสมด้วย
                4. พัฒนาเรื่องไวยากรณ์ ไวยากรณ์เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะเป็นเสมือนเครื่องพิสูจน์คุณภาพงานเขียน เลือกtense ที่เหมาะสม และจงจำไว้ว่าต้องใช้เครื่องหมายวรรคตอนต่างๆให้ถูกต้อง เพราะเครื่องหมายวรรคตอนจะช่วยให้งานเขียนชัดเจนและลื่นไหลมากยิ่งขึ้น
                5. เขียน การเขียนสามารถกลายเป็นเรื่องที่น่ากลัวเสมอ อย่างไรก็ตามวิธีที่จะช่วยพัฒนาทักษะด้านการเขียนที่ดีที่สุด คือ หยิบปากกา และกระดาษขึ้นมา หรือไม่ก็ไปนั่งที่หน้าคอมพิวเตอรืของคุณ แล้วเริ่มเขียนซะ จะได้จำว่า practice makes perfect
                จากการศึกษานอกห้องเรียน ฉันได้ความรู้ คือ การที่เราฝึกฝนทำให้เรามีความสมบูรณ์แบบมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น