วันที่ 21 ตุลาคม 2558 ดิฉันได้ศึกษาเกี่ยวกับการแปลข่าว เนื่องจากการแปลนั้นมีหลายแบบ เช่น
การแปลประโยค การแปลข้อความ การแปลบทความ กระทั่งการแปลข่าว ซึ่งการแปลในแต่ละแบบนั้นมีลักษณะการแปลที่แตกต่างกันออกไป และการแปลข่าวนั้นจะมีทั้งการแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ และแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย หรือภาษาอื่นอื่นๆ
วันนี้ดิฉันได้ศึกษาเกี่ยวกับการแปลข่าว ซึ่งข่าวนั้นจะประกอบด้วยหัวข่าว และตัวข่าว ซึ่งหัวข่าว
เปรียบได้กับชื่อของข่าว ส่วนตัวข่าวนั้นอาจจะแบ่งออกได้เป็นอย่างน้อย 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 เนื้อข่าวโดยย่อ และที่มาของข่าว
ส่วนที่ 2 รายละเอียดของข่าว อาจจะมีมากกว่าหนึ่งย่อหน้าก็ได้
จุดมุ่งหมายในการเขียนข่าวจากที่ดิฉันได้ศึกษามานั้น ได้แก่ การให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เพราะการรับ
ข่าวสารของประชาชนนั้นต้องการข่าวสารที่เป็นความจริง เพราะฉะนั้นในการนำเสนอข่าวสารควรเสนอไปตามความเป็นจริงและมีข้อมูลที่ถูกต้อง อีกอย่างก็คือโครงสร้างของคำและประโยค ความซับซ้อนของประโยคและการเรียงลำดับความคิดจะต้องง่ายและชัดเจน หากโครงสร้างคำในประโยคมีความซับซ้อน อาจจะทำให้ผู้อ่านมีความสับสนกับข่าว
ในการแปลนั้นจะมีทั้งแบบภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาอื่นๆ และในการแปลข่าวจะมีทั้ง
ภาษาไทย และภาษาอังกฤษที่ดิฉันได้ศึกษาในวันนี้ ซึ่งภาษาที่ใช้ในการเขียนข่าวนั้น แม้ว่าจะเป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่นๆ จะมีลักษณะเฉพาะในแต่ละภาษา ซึ่งทางด้านคำ รูปแบบของวลี และประโยค ซึ่งในการแปลหัวข่าวจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษนั้นผู้แปลจะต้องใช้ลักษณะการเขียนภาษาอังกฤษมาเขียน และในการเขียนหัวข่าวจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยนั้น ผู้แปลก็จะต้องเขียนหัวข่าวแบบภาษาไทย ที่ใช้ตามการเขียนหัวข่าวภาษาไทยร่วมด้วยเช่นกัน และที่สำคัญในการเขียนข่าวคือ สั้น กระชับ รัดกุม
ในการแปล ผู้แปลจจะต้องคำนึงถึงการแปลหัวข่าว ซึ่งในการแปลหัวข่าวนั้นมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ
ลักษณะของภาษาที่ถูกต้อง ซึ่งก็คือ โครงสร้างของประโยคและคำศัพท์ และอีกสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ ความสั้นยาวของหัวข่าว คือในการกำหนดความสั้นยาวในการแปลข่าวนั้นจะไม่เหมือนกัน เช่น สำหรับพาดหัวหนังสือพิมพ์รายวัน เนื้อที่ของกระดาษจะเป็นตัวกำหนดความสั้นยาว แต่ถ้าเป็นการแปลรายงานข่าว เพื่ออ่านทางวิทยุหรือโทรทัศน์นั้นเวลาจะเป็นตัวกำหนด เป็นต้น เพราะฉะนั้นความสั้นยาวจะไม่เท่ากัน จะขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราแปล ว่าเราแปลส่วนใดของข่าว และเป็นข่าวแบบใด
จากการที่ข้าพเจ้าได้ศึกษาข่าวนั้นได้ศึกษาถึงหัวข่าว ซึ่งหัวข่าวนั้นจะมีโครงสร้าง ไม่ว่าจะเป็น
ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ ดังนั้นในการเขียนหัวข่าวจึงมีความสำคัญที่จะให้ถูกต้องตามหลักของโครงสร้าง เพื่อที่จะไม่ให้เกิดความซับซ้อนของคำ วลี และประโยค ซึ่งจากที่ข้าพเจ้าได้อ่านมานั้นจะเกี่ยวข้องกับโครงสร้างของหัวข่าวภาษาไทย และภาษาอังกฤษ และได้ความรู้ดังนี้
โครงสร้างของหัวข่าวภาษาไทย ในโครงสร้างของหัวข่าวนั้นจะมีรูปแบบของการเรียงคำ
ซึ่งในภาษาไทยจะมี 2 แบบ คือ
1. นามวลี โครงสร้างแบบนี้ในภาษาไทยจะมีการเลือกใช้น้อย ดังตัวอย่าง
- แผนวิจัยวัสดุนิวเคลียร์รับโครงการปรมาณู (ไทยรัฐ)
- สภาพตลาดหุ้นวอลสตรีทวันนี้ ( ข่าวพาณิชย์ )
2. ประโยค ในโครงสร้างของประโยคที่เป็นหัวข่าวจะมี 5 ประเภท
1) ประธาน + กริยา + กรรม ซึ่งส่วนที่เป็นกรรมนั้นจะมีหรือไม่มีก็ได้ ขึ้นอยู่กับกริยาว่าต้องการกรรมหรือไม่ เช่น
- พ่อค้าฟ้องธนาคารกรุงเทพฯ (ไทยรัฐ)
2) ประธาน + กริยา + กริยา + กรรม ซึ่งจะเห็นได้ว่าจากโครงสร้างในประโยคของรูปแบบนี้จะมีกริยา 2 ตัว ซึ่งมีความสำคัญกับประโยคทั้ง 2 ตัว ถือว่าเป็นภาคแสดงที่บอกการกระทำของประธานตัวเดียวกัน ซึ่งนบางครั้งอาจจะมีเครื่องหมาย “-” ระหว่างกริยา 2 ตัว หรือจะไม่มีก็ได้ เช่น
- 4 โจรตี-ฟันเกจิอาจารย์ไม่เข้า (ไทยรัฐ)
3. กริยา + กรรม จากโครงสร้างของประโยคในแบบนี้จะสังเกตเห็นว่าไม่มีประธาน เนื่องจากในกรณีที่ประธานไม่สำคัญ เพราะหัวข่าวมุ่งบอกสิ่งที่เกิดขึ้น หรือผู้อ่านเดาได้จากความในหัวข่าวว่าประธานเป็นใครก็อาจจะละประธานไว้ได้ เช่น
- สั่งเตรียมพร้องตำรวจชายแดนเต็มอัตราศึก (ไทยรัฐ)
4. ในแบบที่ 4 นี้ จะเป็นโครงสร้างของประโยคในแบบประโยคเดี่ยวเรียงกัน 2 หรือ 3 ประโยค เช่น
- ข้าวเปลือกราคาตก เร่งตั้งมูลภัณฑ์กันชนแก้ (มติชน)
5. แบบที่ 5 จะใช้การขึ้นต้นด้วยคำว่า “ว่า” “ว่ากันว่า” “คาด” และตามด้วยประโยค เช่น
- คาดปัญหาน้ำมันเข้าที่ประชุครม. วันนี้
เป็นการแสดงถึงการคาดเดาเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
โครงสร้างหัวข่าวภาษาอังกฤษ ในภาษาอังกฤษจะไม่มีการใช้เครื่องหมายที่บอกว่าจบประโยค (.) จะมีเครื่องหมายที่ใช้บ้างก็คือ เครื่องหมายคำถาม และเครื่องหมายตกใจ ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงโครงสร้างของหัวข่าวในภาษาอังกฤษมี 3 แบบ ดังนี้
1. นามวลี ซึ่งจะตรงข้ามกับภาษาไทยเพราะในภาษาอังกฤษ จะเป็นโครงสร้างที่ใช้มาก
โครงสร้างของนามวลีมีหลายรูปแบบ ดังนี้
1) N + V.ing P เช่น
- Export gaining speed
2) N + V.ed P รูป V.ed P เป็นรูปที่ตัดมาจากกริยารูปกรรมวาจก ซึ่งจะบอกว่าประธานเป็นผู้รับผลของการกระทำ เช่น
- Thai held in Malaysia
3) N + Prep P เช่น
- Major cats in budget
4) N + to .V. P รูป to .V. P เป็นรูปที่ตัดมาจากรูปเดิม is,am,are to Verb ซึ่งใช้บอกว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้น เช่น
- New tund to case loan problem
2. ประโยคเดี่ยว
โครงสร้าง = ภาคประธาน 1 ภาค + ภาคแสดง 1 ภาค
ลักษณะของประโยคต่างจจากภาษาเขียนธรรมดาก็คือ กริยาในประโยคจะอยู่ในรูปปัจจุบันเสมอ และ a ,an ,the และ ‘s จะมีหรือไม่มีก็ได้ เมื่อจบประโยคก็จะต้องไม่มี (.) เช่น
- Hopes collapse for Kampuchean United front
3. รูปประโยคที่คัดคำพูดมาลง มี 5 แบบ ดังนี้
1) ชื่อคนอยู่ต้นประโยคและตามด้วยเครื่องหมาย –
- Borg – “ I’ll quit after Wimbledon ”
2) ชื่อคนอยู่ต้นประโยค แต่จะตามด้วยเครื่องหมาย :
- Borg : “ I’ll quit after Wimbledon ”
3) ขึ้นต้นด้วยประโยคคำพูดตามด้วยเครื่องหมาย – และตามด้วยชื่อผู้พูด
- “ I’ll quit after Wimbledon ” - Borg
4) ขึ้นต้นด้วยประโยคคำพูดตามด้วยเครื่องหมาย , และตามด้วยชื่อผู้พูด
- “ I’ll quit after Wimbledon ” , Borg
5) ขึ้นต้นด้วยประโยคคำพูดตามด้วยเครื่องหมาย , โดยในแบบนี้จะใส่ says ก่อนชื่อผู้พูด
- “ I’ll quit after Wimbledon ” , says Borg
จากทุกแบบนั้นเครื่องหมายคำพูด (“ ”) อาจจะตัดออกไปได้
การแปลหัวข่าวภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผู้แปลไม่จำเป็นต้องนำโครงสร้างของหัวข่าวในต้นฉบับมาใช้เป็นหลักในการแปล แต่ผู้แปลจะต้องรู้ว่า ใคร ทำอะไร จากหัวข่าวต้นฉบับ แล้วนำมาถ่ายทอดโดยการใช้โครงสร้างของหัวข่าวของภาษาฉบับแปล ซึ่งต่อไปก็จะเป็นการเปรียบเทียบโครงสร้างของหัวข่าวภาษาอังกฤษกับภาษาไทย
ก.
ภาษาอังกฤษ + N + V.ed ภาษาไทย : + -กริยา +- คำนาม

+ N + V + N
เช่น Border police placed on full alert.
- สั่งเตรียมพร้อมตำรวจชายแดนเต็มอัตราศึก
ข. ภาษาอังกฤษ + N + V.ing P
ภาษาไทย : + คำนาม + กริยา + คำนาม

+ N + to V P
เช่น Japan willing to buy more rice.
- ญี่ปุ่นจะซื้อข้าวเพิ่ม
ค. ภาษาอังกฤษ N + V + N
ภาษาไทย : + คำนาม + กริยา +- คำนาม

เช่น Planters , millers laud govt’s sugar dicision.
- ชาวไร่อ้อย เจ้าของโรงงานน้ำตาลพอใจในนโยบายน้ำตาลของรัฐบาล
ง. ภาษาอังกฤษ ว่า expected
คาดว่า + ประโยค
N + said + to V

ว่ากันว่า believed
เช่น คาดว่าราคาทองจะเริ่มลด
- Gold prices expected to go down.
ต่อมาก็จะป็นการแปลตัวข่าว ซึ่งในการแปลตัวข่าวนั้นจะมีหลักการแปลตัวข่าวดังนั้น
1. โครงสร้างของตัวข่าว
1.โครงสร้างของตัวข่าวในภาษาไทยและภาษาอังกฤษนั้นเหมือนกัน คือ ในย่อหน้าที่ 1 จะเป็นสรุปข่าวโดยย่อ และบอกแหล่งที่มาของข่าว ย่อหน้าถัดไปก็คือรายละเอียด ดังนั้นการแปลจึงเป็นไปตามโครงสร้าง แต่ในการแปลข่าวจะมีข้อจำกัดเกี่ยวกับเนื้อที่ของหน้ากระดาษ ดังนั้นความยาวของฉบับแปลอาจจะน้อยกว่าต้นฉบับก็ได้
2. รูปประโยคและการใช้กริยา
2. ในการแปลข่าวเป็นภาษาอังกฤษให้ใช้รูปประโยคสั้น ไม่มีส่วนขยายที่ซับซ้อนมากเกินไป สำหรับภาคแสดงในภาษาอังกฤษให้ใช้เป็นอดีต
3. 3. การใช้คำศัพท์ซึ่งเป็นศัพท์เฉพาะในการรายงานข่าวหนังสือพิมพ์
คำศัพท์ที่ใช้ในการรายงานข่าวจะมีลักษณะเฉพาะ คือ จะเป็นคำที่สั้น ถ้าเอาคำยาวมาใช้จะย่อให้สั้น คนอ่านโดยทั่วไปรู้จัก ในกรณีที่ใช้คำศัพท์ที่มีความหมายแฝงที่ก่อให้เกิดความรู้สึกรุนแรง และตื่นเต้น ในการแปลข่าวจากภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่ง แปลจะต้องรู้ความหมายของศัพท์เฉพาะ และต้องใช้ศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการรายงานข่าวในภาษาฉบับแปลด้วย
จากการศึกษาหาความรู้ครั้งนี้ ดิฉันได้ความรู้ คือ การแปลข่าวภาษาไทย ภาษาอะงกฤษ โครงสร้างด้านต่างๆ และหลักในการเขียน หรือแปลจากต้นฉบับ เราจะต้องคงความหมายไว้ดังเดิม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น