วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Learning log2

การเรียนรู้ทางด้านภาษานั้นทุกคนจะมีภาษาแม่เป็นของตนเอง และจะมีความชำนาญในภาษาแม่  ซึ่งภาษาแม่ของเราก็คือภาษาไทย  ทั้งนี้ทุกคนจะต้องเกิดการเรียนรู้ในภาษาที่สองคือ ภาษาอังกฤษ ซึ่งความแม่นยำในการเรียนรู้ทักษะภาษาอังกฤษนั้นอาจจะมีน้อย ดังนั้นจึงต้องมีการใช้กลยุทธ์ในการเรียนภาษาอังกฤษ เพื่อทำให้เราเกิดความชำนาญ  หรือแม่นยำในภาษามากขึ้น ในการเรียนทักษะทางด้านภาษานั้นสามารถศึกษาหาความรู้ทั้งจากในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
การศึกษาหาความรู้ทางด้านภาษาในห้องเรียนนั้น  การเรียนรู้ทางด้านภาษามีการเรียนรู้หลายวิธี หลายหลายรูปแบบที่เราสามารถศึกษาหาความรู้ได้ ดังนั้นเราจะต้องรู้ว่าเราจะต้องเริ่มจากอะไร เราสามารถกำหนดหลักเกณฑ์ในการเรียนได้ว่า ทำไมเราต้องเรียน  เรียนไปเพื่ออะไร  เรามีความรู้แค่ไหน
การศึกษาหาความรู้จากในห้องเรียนนั้นมีหลักการในการเรียนรู้คือ KWL
K =  what  you  know  คือ คุณรู้อะไรบ้างในการศึกษาเล่าเรียนวิชานั้น  คุณมีความรู้พื้นฐานอะไรมาแล้วบ้าง
W =  what do you want to know  คือ คุณต้องการที่จะรู้อะไรจากในห้องเรียน  ในการเรียนรู้ในห้องเรียนนั้น  เราจะต้องรู้ว่าที่เรามาเรียนในแต่ละวิชาเราต้องการรู้เกี่ยวกับอะไรในวิชานั้นๆ
L =  what you have learnt  เราเรียนไปเพื่ออะไร ในการศึกษาหาความรู้นั้นเราจะต้องรู้ว่าเราเรียนไปเพื่ออะไร ทำไมถึงต้องเรียน
                ในการเรียนรู้นั้นเราจะต้องมีหลักการว่าเราจะเรียนรู้แบบใด อย่างไร ดังนั้นในการเรียนรู้ในห้องเรียนนั้นเราจะต้องรู้ว่าเรารู้อะไรมาแล้วบ้าง  เรามีความรู้พื้นฐานแค่ไหน  หลังจากนั้นเราจะต้องเราจะต้องถามตัวเองว่าเราต้องการรู้อะไร  เราอยากรู้อะไรจากการศึกษาหาความรู้ในห้องเรียน  และสุดท้ายเราจะต้องรู้ว่าเราศึกษาหาความรู้จากในห้องเรียนไปเพื่ออะไร  จากหลักการเรียนรู้ข้างตันนี้ใช้ได้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน  การเรียนรู้ของเราจะต้องเกิดจากทั้งในและนอกห้องเรียน
                ในการศึกษาหาความรู้จากนอกห้องเรียนนั้นมีหลายหลายวิธีที่เราสามารถศึกษาเกี่ยวกับภาษา  และมีหลากหลายช่องทางในการสืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับภาษา และในด้านภาษานั้นมีเรื่องมากมายที่ให้เราสืบค้น  ในเมื่อมีหลากหลายเราจึงควรหากลยุทธ์ในการเรียนภาษา ที่จะช่วยให้เราเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น
                ในยุคที่ภาษาอังกฤษกำลังเฟื่องฟูมีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระบบที่หลากหลาย  ซึ่งการเรียนภาษาจะแตกต่างจากการเรียนวิชาอื่นๆเป็นส่วนใหญ่  คือการเรียนภาษาจะต้องมีความรู้และทักษะควบคู่กันไป  ซึ่งความรู้จะเป็นภาคทฤษฎี  ส่วนทักษะเป็นภาคปฏิบัติ  ในการเรียนเฉพาะภาคทฤษฎีโดยไม่ฝึกปฏิบัติไม่อาจทำให้สามารถใช้ภาษาได้จริงในชีวิตประจำวัน ซึ่งปัญหาในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษมักจะมุ่งไปที่เหตุปัจจัยภายนอกตัวผู้เรียน  คือ  โทษครูผู้สอน  โทษตำรา แบบเรียน และสื่อการเรียนการสอน  โทษสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอน  โทษนโยบายรัฐ  โทษสภาพแวดล้อมทางสังคม  แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ  เหตุปัจจัยหลายอย่างทั้งภายในและภายนอกของกระบวนการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ  การจะเรียนภาษาอังกฤษให้ได้ผลย่อมมีเหตุปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน  ตัวผู้เรียนเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุด
                การพึ่งตนเองในการเรียนภาษาอังกฤษจนสัมฤทธิ์ผลต้องดำเนินไปอย่างเป็นระบบโดยเริ่มตั้งแต่วัตถุประสงค์และเป้าหมาย กำหนดให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นจะสามารถทำอะไรได้แค่ไหนภายในกรอบเวลาใด  เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายได้แล้ ก็จะต้องรู้จักจัดเตรียมและเสาะหาสื่อและแหล่งความรู้ที่เอื้อต่อการฝึกทักษะด้วยตนเอง  ขั้นต่อไปก็จะต้องพัฒนากลยุทธ์ในการเรียน  ซึ่งกลยุทธ์ในการเรียนภาษามีองค์ประกอบทั้งสิ้น 10 ประการ  ได้แก่
1. ศึกษา  ความรู้เปรียบเสมือนเสาหลักมีอยู่ 2 ด้าน คือ ศัพท์และไวยากรณ์ ซึ่งอุปสรรคในการเรียนการสอนภาษา คือ ผุ้สอนพูดกับผู้เรียนเสมอว่า  ภาษาเป็นวิชาทักษะ ไม่ใช่วิชาเนื้อหา  จนทำให้ผู้เรียนเข้าใจผิด ในเมื่อภาษาเป็นวิชาที่ไม่มีเนื้อหา การเรียนภาษาจึงไม่ต้องเรียนเนื้อหา นอกจากการฝึกทักษะ ทำให้ไม่เข้าใจ
2. ฝึกฝน  การฝึกฝนภาษาให้ได้ผลต้องผ่าน “อินทรีย์6” หลายทาง ตา-ดู  ได้แก่ การอ่าน การดู การสังเกต  หู-ฟัง  ได้แก่ เสียงและน้ำเสียง  ปาก-พูด  ได้แก่ การออกเสียง การพูด การสนทนา การอ่านออกเสียง  มือ-เขียน  ได้แก่ การเขียนรวมไปถึงการใช้อุปกรณ์ทดแทนการเขียนด้วยมือ  หัว-คิด ได้แก่ สมรรถนะทางด้านปัญญา  ใจ-รัก ได้แก่ สมรรถนะทางด้านจิต คือใจรักในสิ่งที่ศึกษา จากนั้นมีความหมั่นเพียรในการศึกษา
3. สังเกต ภาษาอังกฤษมีเนื้อหามาก บางเรื่องก็เป็นเรื่องซับซ้อน บางเรื่องก็เป็นลักษณะเฉพาะของภาษาเอง ไม่อาจใช้เหตุผลได้ ผู้เรียนภาษาที่ดีจึงต้องเป็นคนช่างสังเกต โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องใส่ใจเรื่องใหญ่ๆต่อไปนี้
·         ไวยากรณ์ เช่น โครงสร้างของวลีและประโยค
·         ศัพท์ เช่น ชนิดของคำ
·         ภาษาสำเร็จรูป เช่น โวหาร สำนวน สุภาษิต
4. จดจำ  ความจำเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของการเรียนรู้ทุกชนิด  รวมทั้งการเรียนภาษา การเรียนภาษา การฝึกฝนตามปกติอาจไม่เพียงพอ แต่ต้องอาศัยการท่องจำมาเสริม คือ การท่องปากเปล่าเพื่อให้จดจำถ้อยคำหือข้อความจนสามารถเรียกกลับมาใช้ได้ตามใจต้องการ บางครั้งจะอาศัยการท่องปากเปล่าเพียงอย่างเดียวอาจไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ จำต้องอาศัยการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรแทน
5. เลียนแบบ แต่ละภาษาจะมีสัญนิยมของตนเอง ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างคนที่ใช้ภาษาเดียวกัน มิฉะนั้นจะสื่อสารกันไม่ได้เลย การเรียนภาษาจึงต้องอาศัยการเลียนแบบทุกขั้นตอน  ข้อแตกต่างสำคัญระหว่างการเรียนภาษาแม่กับภาษาต่างประเทศก็คือ ผู้ที่เรียนภาษาแม่อยู่ในสิ่งแวดล้อมของเจ้าของภาษา มีแหล่งความรู้ภาษาที่ถูกต้องมากกว่า ในขณะที่ผู้เรียนภาษาต่างประเทศจะมีข้อเสียเปรียบในเรื่องนี้อย่างมาก เพราะขาดแคลน”แบบ”ที่ใช้”เลียน” ทั้งในเชิงคุณภาพและในเชิงปริมาณ
6. ดัดแปลง เมื่อเลียนแบบแล้ว ต้องรู้จักดัดแปลงให้เข้ากับวัตถุประสงค์ในการใช้ภาษา การรู้จักดัดแปลงย่อมต้องอาศัยความรู้เรื่องไวยากรณ์ประกอบกับความรู้เรื่องศัพท์และสำนวนโวหารต่างๆเป็นพื้นฐานสำคัญ
7. วิเคราะห์  การเรียนภาษาในระดับเบื้องต้นจำต้องอาศัยการเลียนแบบอยู่มาก แต่เมื่อเรียนในระดับสูงขึ้น ก็ต้องอาศัยการวิเคราะห์เข้ามาเสริม ซึ่งมีความซับซ้อนยิ่งกว่าภาษาทั่วไป การวิเคราะห์มี 3 ระดับใหญ่ๆคือ
·         ระดับศัพท์ คือ วิเคราะห์โครงสร้างและความหมายของศัพท์และสำนวน
·         ระดับไวยากรณ์ คือ วิเคราะห์โครงสร้างและความหมายของวลีและประโยค
·         ระดับถ้อยความ คือ วิเคราะห์โครงสร้างและความหมายระหว่างประโยค ตลอดจนโครงสร้างและความหมายโดยรวม
8. ค้นคว้า ความรู้ที่มีอยู่ในตำรา แบบเรียน ยังมีไม่เพียงพอ ผู้เรียนจำต้องค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลความรู้ต่างๆ  ในสภาพความเป็นจริงของการใช้ภาษาการตั้งเป้าหมายว่าผู้เรียนต้องรู้ศัพท์หมดทุกคำ หรือต้องใช้ภาษาโดยไม่ผิดเลย เป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ เพราะเป็นไปไม่ได้ และไม่จำเป็น แต่การสอนให้ผู้เรียนอาศัยแต่การเดา ไม่ต้องค้นคว้าเพิ่มเติม จนผู้เรียนคล้อยตาม ยิ่งต้องเรียนและใช้ภาษาในระดับสูงขึ้น ก็มักจะพบว่าความรู้ต่างๆที่เรียนมานั้นพร่ามัว ทำให้ขาดความมั่นใจในการใช้ภาษา
9. ใช้งาน เมื่อเรียนรู้ภาษาไปบ้างแล้ว ก็สมควรจะใช้งานจริง เพื่อทดสอบและตรวจสอบดูว่าความรู้และทักษะที่ได้เรียนรู้มานั้นเพียงพอหรือไม่
10. ปรับปรุง ผู้เรียนภาษาที่ดีต้องช่างสังเกตและเรียนรู้จากข้อผิดพลาดบกพร่อง เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขด้วยการศึกษา ฝึกฝน วิเคราะห์ ค้นคว้า และหาโอกาสไปทดสอบใหม่ เพื่อวัดความก้าวหน้าในการใช้ภาษาในด้านนั้นๆ

                จากการศึกษาทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน ดิฉันได้ความรู้ คือ ความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาเป็นสิ่งที่ต้องศึกษา ฝึกฝน และต้องเพาะบ่มเป็นเวลานาน ไม่ใช่ว่าจะได้มาจากการเรียนกวดวิชาหรือฝึกอบรมแค่ไม่กี่ชั่วโมง

วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2558

แปลประโยค

  จงแปลประโยคต่อไปนี้เป็นภาษาไทย

1.   First-year  students  have  studied  English  for  at  least  10  years.
                 นักศึกษาปีหนึ่งเรียนภาษาอังกฤษเป็นเวลาอย่างน้อย  10  ปี
2.   An  accident  took   place  when  the  plane  was  flying  above  a  paddy  field.
                 อุบัติเหตุเกิดขึ้นเมื่อเครื่องบินบินอยู่เหนือทุ่งนา
3.   The  truck  driver  was  unidentified.
                 คนขับรถบรรทุกเป็นคนนิรนาม
4.   Tomorrow  I’ll  go  out  of  town.
                 พรุ่งนี้ฉันจะออกนอกไปนอกเมือง
5.   Yesterday  it  rained  hard.
                 เมื่อวานฝนตกหนัก
6.   We  invited  him  to  give  a  lecture  over  here.
                 เราเขิญเขาไปให้บรรยายที่อื่น
7.   I  used  to  study  at  a  boarding  school.
                 ฉันเคยเรียนที่โรงเรียนประจำ
8.   Have  you  eaten?
                 คุณกินอะไรมั้ย?
9.   I’m  still  doing  my  homework.
                 ฉันยังคงทำการบ้าน
        10.      He  always  teases  me.
                    เขาล้อฉันเสมอ
        11.    I  always  get  wrong  answers.
                    ฉันได้รับคำตอบที่ผิดเสมอ
        12.     I  was  about  to  ask  you  about  that.
                   ฉันถามคุณเกี่ยวกับสิ่งนั้น

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Learning log

         สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียนเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนและกระบวนการสอนของครูผู้สอน. ครูควรสอยอย่างไรให้เด็กเกิดความเข้าใจ โดยมีการใช้หลักการดังต่อไปนี้
                  I + 1 =  Comprehensible Input
          จากสมการนี้อธิบายได้ว่า การที่ครูจะจัดการเรียนการสอนนั้นจะต้องคำนึงถึงความรู้พื้นฐานของนักเรียน เพื่อที่จะทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจดียิ่งขึ้น
                  Macro Skills
         1. Productive Skills คือทักษะการผลิตเป็นทักษะที่เกี่ยวกับการผลิตข้อมูล ซึ่งมี 2 ทักษะคือ ทักษะทางด้านการพูด และทักษะทางด้านการเขียน
         2. Receptive Skills คือ ทักษะการรับ เป็นทักที่เกี่ยวกับการรับข้อมูล มี 2 ทักษะ ได้แก่ ทักษะทางด้านการฟัง และทักษะทางด้านการอ่าน
          สิ่งที่ได้เรียนรู้จากนอกห้องเรียน คือ language acquisition เป็นการเรียนรู้แบบธรรมชาติ ซึ่งเป็นกระบวนการที่บุคคลคนหนึ่งเรียนรู้และพัฒนาความเข้าใจในภาษาแม่ ทั้งในเรื่องเสียงและโครงสร้างทางไวยากรณ์จนกระทั่งสามารถสื่อสารได้ การได้มาซึ่งภาษาประกอบด้วยคุณลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ ภาษาพูด (oral language) ภาษาเขียนในการสื่อสาร (written communication) การสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำ (verbal abilities) นอกจากนี้การสื่อสารกับคนรอบข้าง ก็จะทำให้เด็กเริ่มเรียนรู้กฎไวยากรณ์ของภาษาแม่ (Grammatical rules of language) ไปอัตโนมัติด้วย
          จากการศึกษาทั้งในชั้นเรียนและนอกห้องเรียนฉันได้ความรู้คือ การในการเรียนต้องประกอบไปด้วยกระบวนการเรียนรู้ และทักษะการเรียนรู้ จะทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
                คำว่า โครงสร้าง ตรงกับภาษาอังกฤษว่า structure  ซึ่งโครงสร้างเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา โครงสร้างเป็นสิ่งที่บอกเราว่าเราจะนำคำศัพท์ที่เรารู้มาประกอบกันหรือเรียงกันอย่างไรจึงจะเป็นที่เข้าใจของผู้ที่เราสื่อสารด้วย
                ในการแปล ผู้แปลมักนึกถึงคำศัพท์ ปัญหาที่สำคัญและลึกซึ้ง คือ ปัญหาทางโครงสร้าง ถึงแม้นักแปลจะรู้คำศัพท์แต่ละคำในประโยคแต่หากไม่เข้าใจความสัมพันธ์ก็มีโอกาสล้มเหลวได้
                การแปลระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษมีลักษณะทางโครงสร้างที่แตกต่างกันและผู้แปลควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ มีดังนี้
1. ชนิดของคำ
                ภาษาอังกฤษ มีตัวกำหนด, นาม, กริยา, คุณศัพท์,วิเศษณ์, บุพบท และสันธาน ไม่มีลักษณะนาม และคำลงท้าย
                ภาษาไทยมีชนิดของคำทุกประเภทเหมือนภาษาอังกฤษ ยกเว้นคุณศัพท์ และมีชนิดที่ไม่มีในภาษาอังกฤษ ได้แก่ ลักษณะนาม และคำลงท้าย
2. ประเภททางไวยากรณ์
                สำหรับคำนาม ภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้ กาล มาลา วาจก กริยาแท้-ไม่แท้ แต่ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้ที่ชัดเจน
                สำหรับคำกริยา ภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้ กาล มาลา วาจก กริยาแท้-ไม่แท้ แต่ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้ที่ชัดเจน
3. หน่วยสร้างหรือรูปประโยค
                3.1 นามวลี
•  ภาษาอังกฤษมีตัวกำหนดแบบบังคับ
•  ภาษาไทยตัวกำหนดจะมีหรือไม่มีก็ได้
               3.2 การวางส่วนขยายในนามวลี
•  ภาษาอังกฤษจะวางส่วนขยายไว้ข้างหน้าส่วนหลัก
•  ภาษาไทยจะวางส่วนขยายไว้ข้างหลังส่วนหลัก
                3.3 หน่วยสร้างกรรมวาจก
•  ภาษาอังกฤษมีรูปแบบที่ชัดเจน คือ ประธาน/ผู้รับการกระทำ + กริยา
•  ภาษาไทยมีหลายรูปแบบ และไม่จำเป็นที่จะต้องแปลหน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาอังกฤษเป็นกรรมวาจกไทยเสมอไป
                3.4 ประโยคเน้นประธานกับประโยคเน้นเรื่อง
•  ภาษาอังกฤษจะเน้น subject
•  ภาษาไทยจะเน้น topic
                3.5 หน่วยสร้างกริยาเรียง
•  มีในภาษาไทยแต่ไม่มีในภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยกริยาตั้งแต่สองคำขึ้นไป

                หากผู้แปลตระหนักในความสำคัญของความแตกต่างทางโครงสร้างในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผู้แปลจะมีปัญหาในการแปลน้อยลง และผลงานที่แปลจะใกล้เคียงกับลักษณะภาษาแม่ในภาษาเป้าหมายมากที่สุด

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

บทที่1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
ความสำคัญของการแปล
ในปัจจุบันมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง จึงมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการแสดงและอธิบายความหมาย เพื่อการโต้ตอบระหว่างมนุษย์ทั่วโลก การแปลจึงมีความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างประเทศในวงการต่างๆมากขึ้น
การแปลในประเทศไทย
เริ่มมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสั่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยส์แห่งประเทศฝรั่งเศส จึงมีการฝึกนักแปลประจำราชสำนัก และมีการสอนภาษาอังกฤษในราชสำนัก การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเริ่มมีบทบาทสำคัญในสังคมไทย ทำให้การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ ประชาชน และสังคม การแปลเป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง ใช้ในการพัฒนาทั้งทางวรรณคดี วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต้องแปลให้ถูกต้อง มิฉะนั้นจะเกิดความผิดพลาดในการปฏิบัติการในห้องทดลอง การแปลคืออะไร การแปลคือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปยังภาษาหนึ่ง โดยให้มีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามต้นฉบับทุกประการ ไม่มีการตัดต่อหรือแต่งเติมใดๆทั้งสิ้น การแปลเป็นสิ่งที่ฝึกฝนได้ในขอบเขตที่เป็นความรู้ทางด้านภาษา
คุณสมบัติของผู้แปล
1.เป็นผู้ที่มีความรู้ในภาษาต้นฉบับและภาษาที่ใช้แปลและหมั่นค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม
2.เป็นผู้มีวิจารณญาณในการแปล มีพื้นฐานการศึกษาทางด้านไวยากรณ์ และโครงสร้างของภาษา
3.เป็นผู้มีใจกว้างพอที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4.เป็นผู้สามารถอุทิศเวลาให้การแปลได้อย่างจริงจัง นักแปลที่มีคุณภาพ หมายถึง นักแปลที่มีความสามารถถ่ายทอดความคิดของต้นฉบับได้อย่างครบถ้วน โดยไม่ขาดหรือไม่เกิน มีความรู้ภาษาของต้นฉบับและภาษาที่ใช้แปลเป็นอย่างดี
วัตถุประสงค์ของการสอนแปล
1. การฝึกเพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพให้ออกไปรับใช้สังคมในด้านต่างๆ
2. ผู้แปลจะต้องอ่านเข้าใจ สามารถจับใจความสำคัญได้ และสามารถถ่ายทอดความเข้าใจนั้นออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรได้
3. ผู้สอนแปลต้องหาทางเร่งเร้าให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างกว้างขวาง ส่งเสริมให้มีการค้นคว้าเพื่อหาทางแก้ปัญหาด้วยตนเองจากหนังสืออ้างอิง ลักษณะงานแปลที่ดี ควรจะมีเนื้อหาข้อเท็จจริงตรงตามต้นฉบับ ใช้ภาษาที่ชัดเจนกระชับความ ใช้รูปประโยคสั้นๆ ใช้ภาษาเปรียบเทียบได้เหมาะสม รักษาแบบการเขียนของผู้แต่งงานต้นฉบับไว้
ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
1. ภาษาไทยที่ใช้ในการแปลมีลักษณะเป็นธรรมชาติ ปรับให้เป็นสำนวนไทยตามที่ใช้กันโดยทั่วไป
2. สามารถนำต้นฉบับภาษาอังกฤษมาเทียบเคียงกับคำแปลภาษาไทยได้
3. ใช้การแปลแบบตีความ เรียบเรียง และเขียนใหม่
ลักษณะของงานแปลที่ดี
1. ความหมายถูกต้อง และครบถ้วนตามต้นฉบับ
2. รูปแบบของภาษาที่ใช้ในฉบับแปลตรงกันกับต้นฉบับ
3. สำนวนภาษาที่ใช้สละสลวยตามระดับของภาษา
การให้ความหมายในการแปล
                การให้ความหมายมี 2 ประการคือ
1. การแปลที่ใช้รูปประโยคต่างกันแต่มีความหมายอย่างเดียวกัน
2. การตีความหมายจากบริบทของข้อความต่างๆจากสิ่งของ รูปภาพ การกระทำตลอดจนสถานภาพต่างๆ
การวิเคราะห์ความหมาย
1. องค์ประกอบของความหมาย
                1) คำศัพท์ ความหมายของคำแต่ละคำจะเปลี่ยนแปลงไปได้ในบริบทต่างๆ
                2) ไวยากรณ์ หมายถึง แบบแผนการจัดเรียงคำในภาษา
                3) เสียง ภาษาจะมีเสียงจำนวนมากซึ่งเป็นเสียงที่มีความหมาย เช่น เสียงสระ เสียงพยัญชนะ
2. ความหมายและรูปแบบ
                1) ในแต่ละภาษา ความหมายหนึ่งอาจจะแสดงออกได้หลายรูปแบบ
2) รูปแบบเดียวอาจจะมีหลายความหมาย
3. ประเภทของความหมาย
1) ความหมายอ้างอิง หรือความหมายโดยตรง หมายถึง ความหมายที่กล่าวอ้างโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม หรือเป็นความคิด มโนภาพ
2) ความหมายแปล หมายถึง ความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน ผู้ฟัง ซึ่งอาจจะเป็นความหมายในทางบวก หรือทางลบ ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของภาษาและภูมิหลังของบุคคล
3) ความหมายตามบริบท รูปแบบหนึ่งๆของภาษาอาจจะมีความหมายได้หลายความหมาย ต้องพิจารณาจากบริบทที่แวดล้อมคำนั้นทั้งหมด
4) ความหมายเชิงอุปมา เป็นความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบทั้งการเปรียบเทียบโดยเปิดเผย และเปรียบโดยนัย
4.1 สิ่งที่นำมาเปรียบเทียบ
4.2 สิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ
4.3 ประเด็นของการเปรียบเทียบ
การเลือกบทแปล
                เลือกบทแปลตามวัตถุประสงค์ของการสอนแปล โดยคำนึงถึงการทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตระหนักถึงความบกพร่องต่างๆของตนในการแปล และให้ผู้เรียนได้ความรู้ทั้งด้านทักษะทางภาษา และเนื้อหาไปด้วย
เรื่องที่จะแปล
                เรื่องที่เลือกมามีหลายสาขา จะต้องเลือกว่าจะแปลสาขาใด ซึ่งจะทำให้คนมีความรู้ทันสมัย โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละสาขาวิชาใหญ่ๆเป็นแกน
1. เป็นเรื่องที่เลือกเฟ้น
2. เรียบเรียงให้ถูกต้องทันกับสากล ตลอดจนความละเมียดละไมลึกซึ้งในภาษา

3. ใช้ภาษาที่แปลอย่างถูกต้อง