วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

บทที่1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
ความสำคัญของการแปล
ในปัจจุบันมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง จึงมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการแสดงและอธิบายความหมาย เพื่อการโต้ตอบระหว่างมนุษย์ทั่วโลก การแปลจึงมีความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างประเทศในวงการต่างๆมากขึ้น
การแปลในประเทศไทย
เริ่มมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสั่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยส์แห่งประเทศฝรั่งเศส จึงมีการฝึกนักแปลประจำราชสำนัก และมีการสอนภาษาอังกฤษในราชสำนัก การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเริ่มมีบทบาทสำคัญในสังคมไทย ทำให้การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ ประชาชน และสังคม การแปลเป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง ใช้ในการพัฒนาทั้งทางวรรณคดี วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต้องแปลให้ถูกต้อง มิฉะนั้นจะเกิดความผิดพลาดในการปฏิบัติการในห้องทดลอง การแปลคืออะไร การแปลคือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปยังภาษาหนึ่ง โดยให้มีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามต้นฉบับทุกประการ ไม่มีการตัดต่อหรือแต่งเติมใดๆทั้งสิ้น การแปลเป็นสิ่งที่ฝึกฝนได้ในขอบเขตที่เป็นความรู้ทางด้านภาษา
คุณสมบัติของผู้แปล
1.เป็นผู้ที่มีความรู้ในภาษาต้นฉบับและภาษาที่ใช้แปลและหมั่นค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม
2.เป็นผู้มีวิจารณญาณในการแปล มีพื้นฐานการศึกษาทางด้านไวยากรณ์ และโครงสร้างของภาษา
3.เป็นผู้มีใจกว้างพอที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4.เป็นผู้สามารถอุทิศเวลาให้การแปลได้อย่างจริงจัง นักแปลที่มีคุณภาพ หมายถึง นักแปลที่มีความสามารถถ่ายทอดความคิดของต้นฉบับได้อย่างครบถ้วน โดยไม่ขาดหรือไม่เกิน มีความรู้ภาษาของต้นฉบับและภาษาที่ใช้แปลเป็นอย่างดี
วัตถุประสงค์ของการสอนแปล
1. การฝึกเพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพให้ออกไปรับใช้สังคมในด้านต่างๆ
2. ผู้แปลจะต้องอ่านเข้าใจ สามารถจับใจความสำคัญได้ และสามารถถ่ายทอดความเข้าใจนั้นออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรได้
3. ผู้สอนแปลต้องหาทางเร่งเร้าให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างกว้างขวาง ส่งเสริมให้มีการค้นคว้าเพื่อหาทางแก้ปัญหาด้วยตนเองจากหนังสืออ้างอิง ลักษณะงานแปลที่ดี ควรจะมีเนื้อหาข้อเท็จจริงตรงตามต้นฉบับ ใช้ภาษาที่ชัดเจนกระชับความ ใช้รูปประโยคสั้นๆ ใช้ภาษาเปรียบเทียบได้เหมาะสม รักษาแบบการเขียนของผู้แต่งงานต้นฉบับไว้
ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
1. ภาษาไทยที่ใช้ในการแปลมีลักษณะเป็นธรรมชาติ ปรับให้เป็นสำนวนไทยตามที่ใช้กันโดยทั่วไป
2. สามารถนำต้นฉบับภาษาอังกฤษมาเทียบเคียงกับคำแปลภาษาไทยได้
3. ใช้การแปลแบบตีความ เรียบเรียง และเขียนใหม่
ลักษณะของงานแปลที่ดี
1. ความหมายถูกต้อง และครบถ้วนตามต้นฉบับ
2. รูปแบบของภาษาที่ใช้ในฉบับแปลตรงกันกับต้นฉบับ
3. สำนวนภาษาที่ใช้สละสลวยตามระดับของภาษา
การให้ความหมายในการแปล
                การให้ความหมายมี 2 ประการคือ
1. การแปลที่ใช้รูปประโยคต่างกันแต่มีความหมายอย่างเดียวกัน
2. การตีความหมายจากบริบทของข้อความต่างๆจากสิ่งของ รูปภาพ การกระทำตลอดจนสถานภาพต่างๆ
การวิเคราะห์ความหมาย
1. องค์ประกอบของความหมาย
                1) คำศัพท์ ความหมายของคำแต่ละคำจะเปลี่ยนแปลงไปได้ในบริบทต่างๆ
                2) ไวยากรณ์ หมายถึง แบบแผนการจัดเรียงคำในภาษา
                3) เสียง ภาษาจะมีเสียงจำนวนมากซึ่งเป็นเสียงที่มีความหมาย เช่น เสียงสระ เสียงพยัญชนะ
2. ความหมายและรูปแบบ
                1) ในแต่ละภาษา ความหมายหนึ่งอาจจะแสดงออกได้หลายรูปแบบ
2) รูปแบบเดียวอาจจะมีหลายความหมาย
3. ประเภทของความหมาย
1) ความหมายอ้างอิง หรือความหมายโดยตรง หมายถึง ความหมายที่กล่าวอ้างโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม หรือเป็นความคิด มโนภาพ
2) ความหมายแปล หมายถึง ความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน ผู้ฟัง ซึ่งอาจจะเป็นความหมายในทางบวก หรือทางลบ ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของภาษาและภูมิหลังของบุคคล
3) ความหมายตามบริบท รูปแบบหนึ่งๆของภาษาอาจจะมีความหมายได้หลายความหมาย ต้องพิจารณาจากบริบทที่แวดล้อมคำนั้นทั้งหมด
4) ความหมายเชิงอุปมา เป็นความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบทั้งการเปรียบเทียบโดยเปิดเผย และเปรียบโดยนัย
4.1 สิ่งที่นำมาเปรียบเทียบ
4.2 สิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ
4.3 ประเด็นของการเปรียบเทียบ
การเลือกบทแปล
                เลือกบทแปลตามวัตถุประสงค์ของการสอนแปล โดยคำนึงถึงการทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตระหนักถึงความบกพร่องต่างๆของตนในการแปล และให้ผู้เรียนได้ความรู้ทั้งด้านทักษะทางภาษา และเนื้อหาไปด้วย
เรื่องที่จะแปล
                เรื่องที่เลือกมามีหลายสาขา จะต้องเลือกว่าจะแปลสาขาใด ซึ่งจะทำให้คนมีความรู้ทันสมัย โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละสาขาวิชาใหญ่ๆเป็นแกน
1. เป็นเรื่องที่เลือกเฟ้น
2. เรียบเรียงให้ถูกต้องทันกับสากล ตลอดจนความละเมียดละไมลึกซึ้งในภาษา

3. ใช้ภาษาที่แปลอย่างถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น