วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
                คำว่า โครงสร้าง ตรงกับภาษาอังกฤษว่า structure  ซึ่งโครงสร้างเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา โครงสร้างเป็นสิ่งที่บอกเราว่าเราจะนำคำศัพท์ที่เรารู้มาประกอบกันหรือเรียงกันอย่างไรจึงจะเป็นที่เข้าใจของผู้ที่เราสื่อสารด้วย
                ในการแปล ผู้แปลมักนึกถึงคำศัพท์ ปัญหาที่สำคัญและลึกซึ้ง คือ ปัญหาทางโครงสร้าง ถึงแม้นักแปลจะรู้คำศัพท์แต่ละคำในประโยคแต่หากไม่เข้าใจความสัมพันธ์ก็มีโอกาสล้มเหลวได้
                การแปลระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษมีลักษณะทางโครงสร้างที่แตกต่างกันและผู้แปลควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ มีดังนี้
1. ชนิดของคำ
                ภาษาอังกฤษ มีตัวกำหนด, นาม, กริยา, คุณศัพท์,วิเศษณ์, บุพบท และสันธาน ไม่มีลักษณะนาม และคำลงท้าย
                ภาษาไทยมีชนิดของคำทุกประเภทเหมือนภาษาอังกฤษ ยกเว้นคุณศัพท์ และมีชนิดที่ไม่มีในภาษาอังกฤษ ได้แก่ ลักษณะนาม และคำลงท้าย
2. ประเภททางไวยากรณ์
                สำหรับคำนาม ภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้ กาล มาลา วาจก กริยาแท้-ไม่แท้ แต่ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้ที่ชัดเจน
                สำหรับคำกริยา ภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้ กาล มาลา วาจก กริยาแท้-ไม่แท้ แต่ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้ที่ชัดเจน
3. หน่วยสร้างหรือรูปประโยค
                3.1 นามวลี
•  ภาษาอังกฤษมีตัวกำหนดแบบบังคับ
•  ภาษาไทยตัวกำหนดจะมีหรือไม่มีก็ได้
               3.2 การวางส่วนขยายในนามวลี
•  ภาษาอังกฤษจะวางส่วนขยายไว้ข้างหน้าส่วนหลัก
•  ภาษาไทยจะวางส่วนขยายไว้ข้างหลังส่วนหลัก
                3.3 หน่วยสร้างกรรมวาจก
•  ภาษาอังกฤษมีรูปแบบที่ชัดเจน คือ ประธาน/ผู้รับการกระทำ + กริยา
•  ภาษาไทยมีหลายรูปแบบ และไม่จำเป็นที่จะต้องแปลหน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาอังกฤษเป็นกรรมวาจกไทยเสมอไป
                3.4 ประโยคเน้นประธานกับประโยคเน้นเรื่อง
•  ภาษาอังกฤษจะเน้น subject
•  ภาษาไทยจะเน้น topic
                3.5 หน่วยสร้างกริยาเรียง
•  มีในภาษาไทยแต่ไม่มีในภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยกริยาตั้งแต่สองคำขึ้นไป

                หากผู้แปลตระหนักในความสำคัญของความแตกต่างทางโครงสร้างในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผู้แปลจะมีปัญหาในการแปลน้อยลง และผลงานที่แปลจะใกล้เคียงกับลักษณะภาษาแม่ในภาษาเป้าหมายมากที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น