วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

Learning log 4

In class
                 การที่เราจะสนทนานั้นจะต้องประกอบไปด้วยบทสนทนา ซึ่งบทสนทนานั้นจะมีรูปแบบเป็นประโยค ซึ่งการที่จะเข้าใจบทสนทนานั้น เราจะต้องเข้าใจความหมายของประโยค เนื่องจากรูปประโยคนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ดังนั้นการที่เราจะเข้าใจบทสนทนานั้น เราจะต้องเข้าใจรูปประโยคก่อนว่ามีรูปแบบใดบ้าง จึงจะทำให้เราแปลความหมายของประโยคนั้นได้ถูกต้องและเข้าใจมากยิ่งขึ้น ดังนั้นในหัวข้อต่อไปจะเป็นการกล่าวถึงรูปแบบของประโยค เพื่อที่จะทำให้เราเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น
                 หลักการเขียนประโยคภาษาอังกฤษ แบ่งรูปแบบของประโยคโดยรวมได้ดังนี้ 
1) ประโยคความเดียว (Simple Sentence) คือ ประโยคที่ประกอบด้วยกลุ่มคำ และมีความหมายสมบูรณ์ ประกอบด้วยภาคประธาน และภาคกริยา หรืออาจจะมีส่วนเติมเต็มประกอบอยู่ในประโยคด้วย โครงสร้างของประโยคความเดียวมีดังต่อไปนี้ 
ตัวอย่างของประโยคความเดียวในแบบต่างๆ
- The students are happy.  ประธาน + กริยา + ส่วนเติมเต็ม
- Sujin bought the clothes. ประธาน + กริยา + กรรม
- She is reading.  ภาคประธาน + ภาคแสดง
- Linda opens the store.  ภาคประธาน + กริยา + กรรมตรง
- The company is big and famous.  ประธาน + กริยา + กรรม + ส่วนเติมเต็มขยายประธาน
                 กล่าวโดยสรุปได้ว่าประโยคความเดียวจะต้องประกอบด้วย 1 ประธาน 1 กริยา ในส่วนของกรรม ส่วนเติมเต็ม และส่วนขยายอิ่นๆ ผู้เขียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสม
2) ประโยคความรวม ( Compound Sentence) คือ ประโยคที่ประกอบด้วย ประโยคความเดียวอย่างน้อย 2 ประโยค โดยมีคำเชื่อมระหว่างประโยค เช่น and, or และอาจคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) เพื่อให้เป็นประโยคเดียวกัน คำเชื่อมที่ใช้ในการเชื่อมประโยคความรวมนั้น ก็มีอยู่หลากหลายคำด้วยกัน เช่น and , not only...but also, in addition, besides, in the same way จะใช้ในประโยคที่คล้อยไปในทางเดียวกัน คำว่า but, nor, in contrast, neither nor ขะใช้ใในประโยคที่มีความหมายตรงข้ามกัน คำว่า because และ for instance ใช้ในการเชื่อมประโยค เพื่อบอกเหตุผล หรือยกตัวอย่างเพิ่มเติม นอกจากนี้แล้วยังมีคำเชื่อมอื่นๆอีกมากมาย เช่น for, or, so, yet, however, therefore, otherwise, consequently   เป็นต้น โครงสร้างของประโยคจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
- The restaurant is big. - The food is not delicious.
The restaurant is big , but the food is not delicious.
- John will write a homepage. - He will advertise his company.
John will write a homepage, and he will advertise his company.
3) ประโยคความซ้อน ( Complex Sentence) คือ ประโยคที่มีเพียง 1 independent clause เท่านั้น แต่จะมี dependent clause 1 clause หรือมากกว่าหนึ่งก็ได้มาเป็นส่วนขยาย
- You didn't tell me  that you were going to set up a new business. ส่วนที่ขีดเส้นใต้เป็น noun clause
- The couple who lived in the big house at the corner used to be movie stars. ส่วนที่ขีดเส้นใต้เป็น relative clause ทำหน้าที่เป็น adjective clause ขยายคำนาม the couple
4) ประโยคความรวม + ประโยคความซ้อน ( Compound - complex Sentence) คือ ประโยคที่ประกอบกันขึ้นระหว่าง compound sentence กับประโยค complex sentence ธรรมดาๆ หรือประโยคที่มีตั้งแต่ 2 independent clauses ขึ้นไป และมี dependent clauses ตั้งแต่ 1 clause ขึ้นไป ดังนั้น compound-complex sentence จึงประกอบด้วยประโยคหลักตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไป และประโยครองหรืออนุประโยคอย่างน้อย 1 ประโยค
ตัวอย่าง เช่น
While Somsak played the guitar, the boy sang and the girl danced.
Main clause ➡ the boy sang
                       ➡ the girl danced
Subordinate clause ➡ while Somsak played guitar
Adjective clause คือคืออนุประโยคที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนคุณศัพท์ขยายนาม หรือแสดงลักษณะของคำนาม หรือคำสรรพนาม ปกติแล้ว adjective clause จะเชื่อมด้วยประพันธสรรพนาม โดยที่ประพันธสรรพนามนั้นจะเชื่อมคุณานุประโยคดังกล่าวกับคำนามหรือสรรพนามที่มันขยาย ประพันธสรรพนามเหล่านั้น ได้แก่ that, which , where, when, why, who, whom, whose, how, in which, of which, of whom เป็นต้น
Relative pronouns เป็นสรรพนามที่ใช้เชื่อมใจความสำคัญเข้าด้วยกัน โดยใช้เชื่อม adjective clause ที่ทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์ขยายคำนาม หรือคำสรรพนามที่วางอยู่ข้างหน้า
(1) Who ใช้กับคำนามที่เป็นบุคคล หรือเกี่ยวกับคน ซึ่งเป็นประธานของใจความขยาย เช่น
- The manager will employ the application who are bilingual.
- He is the man who can play football very well.
- Person who want to apply this post must have computer knowledge.
(2) Whom ใช้กับคำนามที่เป็นบุคคล หรือเกี่ยวกับคนซึ่งเป็นกรรมของใจความขยาย เช่น
- I saw someone whom you know.
- She is a good girl whom he wants to marry.
- The man (whom) she will marry owns this piece of land.
(3) Whose ใช้แสดงความเป็นเจ้าของของบุคคล ใช้เชื่อมคำนามหรือคำสรรพนามที่เป็นบุคคล ซึ่งวางอยู่ข้างหน้าของมัน เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของแทนคำนาม หรือคำสรรพนามที่มันขยาย เช่น
- This is the woman whose husband is a teacher.
- I know a film star whose father is my friend.
- The boy whose father is in prison is very intelligent.
(4) Which ใช้กับคำนามหรือคำสรรพนามที่เป็นสิ่งของ สัตว์ ซึ่งหากเป็นกรรมของใจความขยายก็สามารถละทิ้งได้ เช่น
- This is the house which belong to my sister.
- The basket which is on the table is full of rambutans.
(5) Where ใช้กับคำนามประเภทสถานที่ ซึ่งถ้าหากเป็นกรรมของใจความขยายก็ละทิ้งได้ เช่น
- That is the house (where) she lives.
- This is the place where is mortgaged.
(6) When ใช้กับคำนามที่บอกเวลา เพื่อขยายสิ่งที่อยู่ข้างหน้า เช่น
- I can’t remember the year when I first met her.
- She does not know the time when her friend leaves for Canada tomorrow.
(7) Why ใช้ขยายคำนามที่มีความหมายถึงสาเหตุ เหตุผล คำอธิบาย ซึ่งวางอยู่ข้างหน้า เช่น
- I would like to know the reason why you are always late.
- Everyone is waiting for your explanation why you missed the whole classes last week.
(8) That ใช้กับคำนามที่เป็นบุคคล สัตว์ สิ่งของ สถานที่ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ สามารถใช้แทน who, whom, where, which ก็ได้ เช่น
- The robbers that robbed the bank  last week are arrested.
- The month that people send their love cards and red roses is February.
ลักษณะของประโยง adjective clause จะนำหน้าด้วย relative words ดังคำต่อไปนี้
1) Relative pronoun คือสรรพนามที่ใช้เชื่อมประโยค subordinate clause เข้ากับประโยง main clause โดยใช้เชื่อม หรือขยายคำนาม หรือคำสรรพนามที่วางอยู่หน้าประโยค adjective clause ซึ่งจะมีคำเชื่อมที่นำหน้าประโยคดังนี้
- Relative pronoun ใช้แทนคน : who, whom, whose, that
- Relative pronoun ใช้แทนสิ่งของ : which, of which, that
2) Relative adverb ได้แก่ where, when, why
ตำแหน่งของ relative clause
1. ประโยค relative clause เมื่อใช้ขยายคำนามหรือคำสรรพนามตัวใดให้วางประโยค relative clause ไว้หลังคำนั้นทันที เช่น
The man who lives next door is a teacher.
(who lives next door เป็น adjective clause ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า คือ the man )
2. เมื่อใช้ relative pronoun แทนคำนามหรือคำสรรพนามในประโยค แล้วให้ตัดคำนาม หรือคำสรรพนามที่ relative pronoun นั้นใช้แทนออกไป เช่น
John married a woman who works in his office.
ประโยคข้างบนมาจาก 2ประโยคด้วยกัน คือ
A : John married a woman .
B : A woman (she) works in his office.
ประโยค B คือประโยค relative clause ประธานเป็นคน คือ a woman ใช้แทน who แทนประธานที่เป็นคนและตัดคำนาม a woman ออกเพราะใช้ who แทนแล้ว
ประเภทของ adjective clause แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1) Defining clause ใช้ชี้เฉพาะคำนามที่มาข้างหน้าว่าคนไหน สิ่งไหน อันไหน ไม่ใช้เครื่องหมายใดๆคั่นระหว่างคำนามกับ adjective clause ที่ตามมา
- A letter which was in a pink envelope was one seeking for a donation to converse wildlife.
- The group of foreigners who visited our university was from Hawaii.
2) Non-defining clause ใช้ในการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำนามที่มาข้างหน้า โดยมีเครื่องหมาย comma (,) คั่นระหว่างคำนามกับ adjective clause ที่ตามมา
- His house, which is on Sukhumvit Road, is a two-story house.
- His wife, who teaches English at NIDA, got a Ph.D. from the USA.
ข้อสังเกต
(1) การใช้ non-defining clause สามารถใช้ได้กับคำนามทั่วไป
(2) ห้ามใช้ that ใน non-defining clause
(3) ไม่มีการละเชื่อมคำใน non-defining clause
3) Sentential Relative Clause ใช้ในการหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทั้งข้อความ ไม่ใช่เฉพาะคำนามท่่มาข้างหน้า และจะใช้ which นำหน้าเท่านั้นโดยมีเครื่องหมาย comma คั่นจาก main clause
- Jane gave him a smile, which surprised him a great deal .
Which surprised him a great deal เป็น adjective clause ขยายความใน main clause  คือ Jane gave him a smile.
      ทั้งนี้ไม่มีการละคำนำหน้า / คำเชื่อมใน sentential relative clause
การลดรูป adjective clause เป็น adjective phrase มีหลักการและขั้นตอนดังต่อไปนี้
1) การลดรูป relative clause ที่เป็น adjective clause ให้เป็นวลี adjective phrase โดยการใช้ V.3 และV.ing
A) The guy who chattered with Big John through Skype a few days ago was Dave.
ลดรูปเป็น
B) The guy chattering with Big John through Skype a few days ago was Dave.
หลักการลดรูป
(1) ตัด Relative pronoun ทิ้ง (Relative pronoun: that,who,whom,which,whose)
(2) เปลี่ยนกริยาที่ติดอยู่กับ Relative pronoun ให้เป็น V.ing ในกรณีที่คำนามนั้นทำกริยาได้ หรือเปลี่ยนเป็น V.3 ถ้าคำนามนั้นเป็นผู้ถูกกระทำ ซึ่งเราสามารถสังเกตได้จากรูปแบบกริยา เช่น
A) Big John provided and wrote an English column which describes English grammatical structure .
B) Big John provided and wrote an English column which describing English grammatical structure .
2) การลดรูป relative clause ที่เป็น adjective clause ในโครงสร้าง passive voice ให้เป็นวลี เราสามารถทำได้ดังนี้
  ➡ Students who are trained in mathematics can be engineers in the future.
  ➡ Students who are trained in mathematics can be engineers in the future.
จากประโยคข้างต้น เราพบว่าวลี who are นั้นถูกละ และคงไว้แต่ V.3 แสดงว่าคำนามที่ปรากฎหน้าV.3 นั้นถูกกระทำ หรืออยู่ในรูป passive voice นั่นเอง
        การลดรูปนั้นไม่ได้ปรากฎในกลุ่ม defining relative clause เท่านั้น แต่ยังปรากฎใน non-defining clause ได้ด้วยเช่นกัน เมวื่อลดรูปแล้วอาจจะปรากฎในรูปของกลุ่มคำนาม ,V.3 , V.ing
A) Big John, who is one of the most famous columnist at present , has a lot of fun .
ลดรูปเป็น
Big John , one of the most famous columnist at present , has a lot of fun.
จากการศึกษาในชั้นเรียน ฉันได้ความรู้คือ Simple sentence มี independent clause อันเดียว , compound sentence มีตั้งแต่สอง independent clause ขึ้นไป และแต่ละ clause แยกออกมาเขียนเป็น simple sentence ได้ ไม่มี independent clause , complex sentence มีเพียงหนึ่ง independent clause แต่จะมี dependent clause 1 clause และ compound-complex sentence มีตั้งแต่ 2 independent clause ขึ้นไป และมี dependent clause ตั้งแต่ 1clause ขึ้นไป และ adjective clause ทำหน้าที่เป็นเหมือนคำหนึ่งที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม และคำสรรพนาม และมีการลดรูปจาก adjective clause เป็น adjective phrase


                                                                                              Out class
                ในปัจจุบันนี้เราอยู่ในยุคข้อมูลข่าวสารที่ไร้พรมแดน เช่นการสื่อสารในช่วงเวลานี้ต้องมีภาษากลางในการสื่อสารกับชาวต่างชาติ อย่างไรก็ตามภาษาเหล่านี้มีความสำคัญในทุกมิติ เพื่อที่จะต้องใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารงานอยู่เป็นประจำ ถ้าทุกคนมีความรู้ความเข้าใจด้านภาษาเหล่านี้ย่อมจะเกิดผลดีต่อตนเอง ซึ่งจะทำให้เกิดความทันสมัย โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งสมมติมีความเชี่ยวชาญในการแปลก็จะเป็นประโยชน์เป็นอย่างมาก เนื่องจากบางศัพท์ของภาษาอังกฤษไม่สามารถแปลมาเป็นภาษาไทยโดยเจาะจง ฉะนั้นจะต้องมีทักษะในการแปล จะทำให้เราเข้าใจในภาษาอังกฤษมากขึ้น
                การแปล คือ การถ่ายทอดข้อความจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง การตีความหมายหรือการทำให้เข้าใจความหมาย การอธิบายโดยใช้ถ้อยคำสำนวนอย่างอื่น และรักษารูปแบบ คุณค่า และความหมายในข้อความเดิมไว้อย่างครบถ้วน รวมทั้งความหมายแฝง ซึ่งได้แก่ ความหมายทางวัฒนธรรม ปรัชญา ความคิด และความรู้สึก เป็นตัน เมื่อเราเข้าใจหลักการแปลก็จะทำให้การแปลของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งการแปลนั้นไม่เพียงแต่เปิดหาศัพท์จากพจนานุกรมเท่านั้น แต่ยังต้องอาศัยศาสตร์และศิลป์ เพื่อให้เข้าถึงสิ่งที่เราต้องการจะแปล เพื่อความเข้าใจในการแปลได้ดียิ่งขึ้น
                หลักการแปล/ลักษณะของภาษาในงานแปลที่ดี การแปลให้ได้ทั้งความถูกต้องและสำนวนที่ไพเราะ อาจจะยึดหลักการแปลง่ายๆ 4 ประการดังนี้ 1) มีความชัดเจน คือเป็นภาษาที่มีลักษณะกระชับ ไม่ใช้คำที่ไม่จำเป็น รูปประโยคควรเป็นประโยคสั้นๆ หลีกเลี่ยงประโยคโครงสร้างที่ซับซ้อน มีการใช้ข้อความที่ถ่ายทอดความคิดได้แจ่มแจ้ง เช่น ประโยคเดียวแสดงความคิดเดียว ไม่กำกวมหรือชวนตีความได้หลายแง่มุม 2) ใช้ภาษาได้เหมาะสม ผู้แปลต้องเลือกใช้ลีลาการเขียนให้สอดคล้องกันกับลักษณะของเรื่องที่จะแปล เช่นการแปลนวนิยายอาจใช้สำนวน ทำให้เกิดภาพพจน์  3) ใช้ภาษาเรียบง่าย ใช้ภาษาที่เรียบง่ายสัมพันธ์กับความคิดที่กระจ่างแจ้งและตรงตามต้นฉบับ  4) มีความสมเหตุสมผล ในการแปลภาษามีความสมเหตุสมผลต่างกัน ดังนั้นภาษาที่ใช้ในการแปลต้องมีความสมเหตุสมผลเท่าๆกันกับภาษาต้นฉบับ
                ขั้นตอนการแปล เพื่อให้ได้ผลงานที่ดีตรงกับความต้องการ ควรดำเนินตามขั้นตอนดังนี้ 1) กำหนดวิธีการแปล เมื่อได้งานที่จะแปล ให้กำหนดวิธีการแปลที่เหมาะสมกับเนื้อหานั้นให้มากที่สุด ถ้าวิธีการแปลไม่เหมาะกับงาน อาจได้ผลงานไม่ดี  2) ถ่ายทอดเป็นประโยคพื้นฐาน  การถ่ายทอดเป็นประโยคพื้นฐานจะทำให้แปลง่าย และเข้าใจง่าย โดยผู้แปลจะต้องทำความเข้าใจกับต้นฉบับเป็นอย่างดี สามารถแยกออกเป็นประโยคสั้นๆได้  3) เรียบเรียงประโยคใหม่ เมื่อได้ประโยคพื้นฐานแล้ว ก็ดัดแปลงเพื่อให้ได้ประโยคที่เหมาะสมยิ่งขึ้น  4) ปรับปรุงแก้ไข สำรวจผลงานอีกครั้ง เพื่อปรับปรุงแก้ไข ดัดแปลงจนกว่าจะพอใจ โดยในการแปลนั้นเราก็จะต้องเป็นผู้แปลที่ดีอีกด้วย  เพราะจะทำให้งานที่ออกมานั้นดูดียิ่งขึ้น
                คุณสมบัติที่ดีของนักแปล คือ 1) ผู้แปลต้องเข้าใจนัยและความหมายของผู้เขียนตันฉบับเป็นอย่างดีว่าผู้เขียนมีจุดประสงค์อย่างไร ต้องการให้อะไรกับผู้อ่าน เพื่อจะได้ถ่ายทอดจุดประสงค์นั้นไปยังผู้อ่านฉบับแปลได้ถูกต้อง  2) ผู้แปลต้องมีความรู้ทั้งภาษาต้นฉบับและภาษาที่แปลเป็นอย่างดี เพื่อจะได้แปลอย่างถูกต้อง  3) ผู้แปลควรพยายามเลี่ยงการแปลคำต่อคำที่สุด มิฉะนั้นจะทำให้ผู้อ่านฉบับแปลไม่สามารถเข้าใจฉบับแปลได้  4) ผู้แปลควรใช้รูปแบบของภาษาที่เป็นมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ และใช้กันทั่วไป ไม่ใช่คิดคำแสลงใหม่ๆขึ้น หรือใช้คำที่ไม่สุภาพไม่เป็นที่นิยม  5) ผู้แปลต้องรู้จักเลือกใช้ถ้อยคำสำนวนที่เหมาะสมให้ถูกต้องกับความหมายตามต้นฉบับและรักษาบรรยากาศของต้นฉบับไว้
                ผู้แปลต้องเข้าใจทั้งสองภาษาเป็นอย่างดี คือทั้งภาษาต้นฉบับและภาษาฉบับแปล ต้องมีความรู้และภูมิหลังในเรื่องที่แปลพอสมควร ต้องมีความสามรถในการใช้ภาษาเป็นอย่างดี เพื่อจะได้ถ่ายทอดความคิดของผู้เรียนต้นฉบับให้ผู้อ่านฉบับแปลรู้เรื่อง เข้าใจและอ่านได้อรรถรส

                จากการศึกษานอกชั้นเรียน ฉันได้ความรู้ คือ ในการแปลนั้นเราจะต้องเข้าใจภาษาต้นฉบับที่เราจะแปลและภาษาฉบับแปล เพราะมิฉะนั้นจะทำให้งานที่แปลออกมาไม่ดีเท่าที่ควร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น