วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

Learning log 3

In class
               ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และเข้ามามีบทบาทสำคัญในวิถีชีวิตของคนจำนวนไม่น้อย ส่งผลให้ภาษาอังกฤษมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เพราะถือว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร การศึกษาค้นคว้าแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย รวมถึงการประกอบอาชีพ ซึ่งจะต้องอาศัยการสื่อสารโดยส่วนใหญ่ การสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆจะสื่อสารกันได้อย่างน้อยที่สุดก็ต้องฟังรู้เรื่องก่อนแล้วจึงสามารถพูดตอบโต้ได้ หรือพูดได้ หรือใช้เป็น และเป็นประโยชน์ เพราะฉะนั้นถ้าเราจะเข้าใจในด้านการสื่อสารให้มากขึ้นนั้น  เราจะต้องทำความรู้จักกับโครงสร้างประโยคให้มีความแม่นยำเสียก่อน โดยจะเปลี่ยนโครงสร้างของประโยคไปตามเวลา จะทำให้เราเข้าในมากขึ้นว่าควรจะใช้ยังไง เมื่อไหร่
                ในการศึกษารูปแบบของประโยคในภาษาอังกฤษ เพื่อที่จะทำให้เราเข้าใจสถานการณ์มากขึ้นนั้นมีรูปแบบประโยค 12 แบบ ได้แก่ 1) Simple present ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหรือเหตุการณ์ที่ทำเป็นประจำโดยมีคำบ่งบอก เช่น always , often  เป็นต้น และจะมีคำบ่งบอกเวลาว่าเกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น  every day , every month , today  ฯลฯ ซึ่งมีโครงสร้างประโยคดังนี้ “ S + V1 ”  2) Simple past ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงไปแล้วในอดีต จะมีคำบ่งบอกเวลา เช่น last night , yesterday one year ago ฯลฯ มีโครงสร้างประโยคดังนี้ “ S + V2 ”  3) Simple future ใช้กับเหตุการณ์ที่คาดเดาว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งมีคำบ่งบอก เช่น tomorrow , next year ฯ และมีโครงสร้างประโยค คือ “ S + will/shall + V14) Present continuous ใช้กับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นหรือกำลังกระทำอยู่ในขณะที่พูด โครงสร้างของประโยค คือ “ S + is,am,are +V.ing ”  5) Past continuous ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและดำเนินไปอยู่ในอดีตหรือเกิดขึ้นและดำเนินไปอยู่ในช่วงใดช่วงหนึ่งในอดีต โดยอาจจะมีคำกริยาวิเศษณ์บอกเวลาในอดีตระบุไว้ เช่น yesterday , at the moment yesterday เป็นต้น โดยมีโครงสร้าง คือ “ S + was,were + V.ing ” ซึ่งในบางครั้งจะมีใช้กับ past continuous  กับเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคู่กับในอดีต โดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ใช้ past continuous  ส่วนเหตุการณ์ที่เข้ามาแทรกใช้ past simple โดยจะมีตัวเชื่อมทั้ง 2 คือ when , while  6) Future continuous ที่รูปแบบประโยคที่บ่งถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดในช่วงเวลาที่แน่นอนในอนาคต มีโครงสร้างของประโยค คือ “S + will/shall + be + V.ing ”  7) Present perfect * ใช้กับการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตและดำเนินมาจนถึงปัจจุบันซึ่งโดยมากแล้วจะมีกริยาวิเศษณ์จำพวก since , for เป็นต้น *ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตแต่ยังแสดงผลให้เห็นในปัจจุบันและบ่อยครั้งจะมีคำกริยาวิเศษณ์จำพวก ever , never , just , already , yet เป็นต้น *ใช้กับการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตแต่ไม่ได้ระบุเวลา *ใช้กับการกระทำหรือเหตุการณ์ที่เพิ่งจะจบลงไปอย่างสมบูรณ์ โดยมีโครงสร้างดังนี้ “ S + have,has + V3 ”  8) Past perfect ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งจะป็นช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอดีตและเหตุการณ์ที่พูดถึงนั้นจบสมบูรณ์แล้ว โครงสร้างของประโยคคือ “ S + had + V3 ”  9) Future perfect ใช้เพื่อบอกว่าเหตุการณ์จะจบสมบูรณ์ในช่วงเวลาที่แน่นอนในอนาคต โครงสร้าง คือ “ S + will/shall + have + V3 ”  10) Present perfect continuous ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน โครงสร้าง คือ “ S + has ,have + been + V.ing ”   11) Past perfect continuous ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตซึ่งเกิดก่อนหน้าช่วงเวลาอดีตที่กำลังพูดถึงอยู่และดำเนินต่อเนื่องกันมาถึงช่วงเวลาหนึ่งจึงจบลง โครงสร้างประโยค คือ คือ “ S + had + been + V.ing ”  12) Future perfect continuous  เป็นการเน้นความต่อเนื่องที่จะเกิดในอนาคตเหมือนกัน โครงสร้าง คือ “ S +will/shall +  have + been + V.ing ” จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นคือรูปแบบของประโยคทั้ง 12 แบบซึ่งจะเปลี่ยนรูปไปตามกาลเวลาที่เกิดขึ้นและกล่าวถึงเหตุการณ์นั้นๆ
                จากการศึกษาในห้องเรียน ฉันได้ความรู้ คือ การที่เราจะเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้เข้าใจดียิ่งขึ้นนั้น เราจะต้องเข้าใจในโครงสร้างของประโยค และจะต้องทำความเข้าใจในแต่ละรูปแบบของประโยค จะทำให้เราเข้าใจภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้น ทำให้เราสามารถสื่อสารกับเจ้าของภาษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น


Out class
               ปัจจุบันนักเรียนไทยเรียนในโรงเรียนตั้งแต่เช้าจนถึงตอนเย็น หลังจากนั้นก็ไปเรียนพิเศษกันโดยส่วนใหญ่           ทำให้เกิดการเรียนรู้แบบ เรียนมากรู้น้อย”  เพราะการเรียนการสอนมีการแยกส่วนเด็ดขาดในแต่ละวิชา ครูแต่ละวิชาก็จะพะวงอยู่แต่เนื้อหาที่ตัวเองสอน จัดชั่งโมงการเรียนการสอนอย่างเคร่งครัด สั่งการบ้านให้นักเรียนทำทุกวิชา ทำให้นักเรียนต้องเรียนเยอะ ทำการบ้านเยอะ ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว ดังนั้นจึงมีการเปลี่ยนวิธีการเรียนโดย สอนน้อยรู้มาก
                ปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่ประเทศไทยเท่านั้น แต่ประเทศสิงคโปร์ก็เคยประสบปัญหาเดียวกันมาแล้ว ทำให้กระทรวงศึกษาธิการวางแผนแก้ไขรับมือด้วยวิธีตรงกันข้ามกับปัญหาผ่านการ สอนน้อยรู้มาก” (Teach Less , Learn More) ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่มุ่งเตรียมผู้เรียนให้พร้อมรับมือกับการใช้ชีวิตมากกว่าจะเป็นการเรียนการสอนเพื่อทำข้อสอบ ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่เปลี่ยนจุดสำคัญจาก ปริมาณมาเป็น คุณภาพการสอนที่มีประสิทธิผลต้องมีวิธรการและกลยุทธ์ที่ลดปริมาณการเรียนรู้แบบท่องจำ การทดสอบซ้ำซาก และคำตอบที่มีสูตรตายตัว และมีการเพิ่มการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน โอกาสในการแสดงออก การเรียนรู้ทักษะที่ใช้ได้ตลอดชีวิตและปรับการสอนให้สร้างสรรค์ เพื่อมุ่งสร้างบุคลิกภาพให้เด็ก ครู ผู้บริหารโรงเรียน
                สอนน้อยเรียนมากเป็นแนวคิดที่ปรับวิธีคิดเปลี่ยนวิธีสอนของครูและวิธีเรียนของนักเรียน โดยครูออกแบบการเรียนรู้จากการตั้งคำถามเพื่อให้ผู้เรียนคิดและสืบค้นข้อมูล เรียนรู้กิจกรรมโดยใช้โครงงาน ฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตแล้วให้ผู้เรียนสะท้อนความคิดซึ่งสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ มีการจัดกิจกรรมโดยให้ผู้เรียนทุกคนได้เรียนรู้ร่วมกันซึ่งครูออกแบบการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล เช่น การเรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การเรียนรู้แบบสืบค้น การคิดขั้นสูง การเรียนรู้จากโครงงาน การสะท้อนความคิด เป็นต้น
                ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Teach Less , Learn More ผู้สอนต้องสอนให้น้อยลงแต่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากขึ้น คือผู้สอนต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งบทบาทการสอนของผู้สอนแม้จะน้อยลง แต่บทบาทที่เพิ่มมากขึ้นของผู้สอน คือ ผู้สอนต้องมีการวางแผนและออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน เตรียมสื่อและแหล่งเรียนรู้ และเตรียมคำถามที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด TLLM ผู้สอนต้องคำนึงถึงคำถาม  3 คำถาม ได้แก่ 1.ทำไมต้องสอน 2.สอนอะไร และ 3. สอนอย่างไร
                จากการที่สอนน้อยรู้มากนั้นผู้เรียนจะต้องเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนริเริ่มการเรียนรู้ด้วยตนเอง จนถึงการประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเอง โดยจะดำเนินการด้วยตนเองหรือร่วมมือช่วยเหลือกับผู้อื่น สิ่งที่เป็นตัวกำหนดศักยภาพของการเรียนรู้ด้วยตนเอง คือ ความสามารถและความตั้งใจของบุคคล นั่นคือ ผู้เรียนมีทางเลือกเกี่ยวกับทิศทางที่ต้องการไป แต่สิ่งที่จะต้องมีควบคู่กันไปคือ ความรับผิดชอบและการยอมรับต่อสิ่งที่จะตามมาจากความคิดและการกระทำของตนเอง
                การเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับสอนน้อยรู้มากเนื่องจากว่าการที่รู้มากนั้นจะต้องเกิดจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพราะฉะนั้นการเรียนรู้ด้วยตนเองจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจำทำให้กลายเป็นคนที่ขยันแสวงหาความรู้ใส่ตัวเองและสักวันความรู้ที่ได้มาอาจจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ในยามจำเป็น จึงควรขยันหาความรู้ด้วยตนเองให้มาก การเรียนรู้ด้วยตนเองมีวิธีการที่หลากหลาย ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละบุคคล
                จากการศึกษานอกชั้นเรียน ฉันได้ความรู้ คือ การเรียนที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดคือ การสอนน้อยเรียนมาก ซึ่งเป็นการฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต แล้วให้ผู้เรียนสะท้อนความคิดซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง มีการจัดกิจกรรมโดยให้ผู้เรียนทุกคนได้เรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งครูจะเป็นผู้ออกแบบการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น